Archive for สิงหาคม, 2009

อุปสรรคในการกู้เงิน

สิงหาคม 31, 2009

520831111613892ผ่านไปแล้วกับงานแถลงข่าวใหญ่ของกระทรวงการคลังกับมาตรการอัดฉีดสินเชื่อ เข้าสู่ระบบชนิดรวดเร็วทันใจที่เรียกว่า… สินเชื่อฟาสต์แทร็ก…

งานนี้ทั้ง 6 ธนาคารรัฐถือว่างานเข้าเต็มๆ มือ เพราะนอกจากต้องฉีดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลให้ประชาชนและผู้ประกอบการทั่วประเทศกู้ยืมแล้ว ยังต้องเร่งสปีดการทำงานให้เร็วถึงเร็วที่สุดอีกด้วย

ธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายคงจะหนาวกันพอสมควร ถ้าหากยังไม่ลุกขึ้นมาขยับตัวกันบ้าง…มีหวังถูกแย่งตลาดไปไม่น้อย แถมลูกค้าดีๆ ก็อาจเปลี่ยนใจไปใช้บริการของธนาคารรัฐกันบ้างนะครับ

สำหรับธนาคารรัฐจะสามารถให้บริการได้รวดเร็วทันใจสมดั่งชื่อโครงการหรือไม่อย่างไรนั้น…ผมว่าคงต้องแฟร์ๆ กันทุกฝ่าย หมายความว่า…ธนาคารกับลูกค้าคงต้องร่วมด้วยช่วยกันคนละครึ่งถึงจะวิน-วิน

ลูกค้าเองก็คงต้องช่วยตระเตรียมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกคนก็คงจะทราบดีว่าข้อมูลอะไร…เอกสารอะไร…ที่ธนาคารจำเป็นต้องใช้ในการพิจารณาสินเชื่อ ถ้าไม่แน่ใจก็ควรจะโทรศัพท์สอบถามกับเจ้าหน้าที่ธนาคารให้เคลียร์ก่อน

ส่วนธนาคารเองก็คงต้องเตรียมคน…เตรียมงาน…เตรียมกระบวนการ การให้บริการตั้งแต่ลูกค้าเข้าประตูจนถึงขั้นตอนการเบิกเงินกู้ ซึ่งกรณีของธนาคารรัฐก็อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่ามีขั้นตอน…ระเบียบ… ข้อบังคับ…มากกว่าธนาคารเอกชน

ตรงนี้จึงควรจัดกระบวนทัพรับมือเสียแต่เนิ่นๆ

ประเด็นหนึ่งที่อยากพูดถึงในวันนี้ คือเรื่องสำคัญที่ธนาคารทั้งหลายจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดเป็นหนี้มีปัญหา ในอนาคต…นั่นคือ…ความสามารถชำระหนี้ของผู้กู้

ความสามารถชำระหนี้ของผู้กู้ไม่ว่ากิจการประเภทใดก็ตาม เจ้าหน้าที่สินเชื่อจะมีการวิเคราะห์จากยอดรายการรับ-จ่ายของกิจการนั้นๆ และเพื่อให้แน่ใจว่าตัวเลขที่ลงไว้ในบัญชีเป็นของจริง

ในทางปฏิบัติก็จะต้องมีการเช็กตรวจสอบยันกับตัวเลขการเดินบัญชีที่มีอยู่กับธนาคาร…ไม่ว่าจะเดินอยู่ในบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีออมทรัพย์ของกิจการก็สุดแล้วแต่

ตรงนี้ล่ะครับ…ที่มักเป็นปัญหา

เป็นปัญหา…เพราะว่าผู้ประกอบการเอ็สเอ็มอีส่วนใหญ่ที่ค้าขายรับ-จ่าย เป็นเงินสด มักจะไม่เอาเงินผ่านเข้าระบบบัญชี

รับเงินมาพอถึงเวลาต้องจ่ายก็หยิบควักจากลิ้นชักจ่ายไปเลย ซึ่งทำให้รายได้-รายจ่ายของกิจการที่เกิดขึ้นทุกเดือน ไม่ไปปรากฏอยู่ในรายการบัญชีธนาคารของกิจการอย่างที่ควรเป็น

กิจการบางแห่งมีรายได้มากมายเดือนละ 2-3 ล้านบาท แต่พอดูจากสเตตเมนต์บัญชีของกิจการกลับมีตัวเลขหมุนเวียนแค่หลักแสนต้นๆ

บางแห่งตัวเลขแตกต่างกันลิบลับยังไม่พอ ยังกระจายไปอยู่ในบัญชีกิจการบ้าง บัญชีส่วนตัวของกรรมการบ้าง เรียกว่ามั่วกันไปหมด จนไม่อาจทำให้ธนาคารเชื่อได้ว่าจะมีรายได้จริงอย่างที่อธิบายไว้

ซึ่งก็เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประเด็นด้านความสามารถชำระหนี้ของกิจการอ่อนยวบทันที

รายได้น้อย กำไรต่ำ ความสามารถชำระหนี้แย่…แค่นี้ยังไม่พอ หนักเข้าอาจถูกมองว่าพฤติกรรมไม่น่าเชื่อถือ กลายเป็นปัญหาเรื่องขาดคุณสมบัติไปอีกกระทง มีสิทธิสอบตกตั้งแต่รอบแรกเลยก็เป็นได้

ส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักจะเป็นกิจการประเภทที่มีรายรับรายจ่ายเป็นเงินสด เช่น โรงแรม รีสอร์ต ภัตตาคาร ร้านอาหาร กิจการค้าปลีกค้าส่ง และธุรกิจบริการต่างๆ บางรายกู้เงินไม่ได้ หรือกู้ได้วงเงินน้อยกว่าที่ต้องการอย่างน่าเสียดาย

ผมจึงอยากแนะนำให้ท่านผู้ประกอบการทั้งหลายควรจะให้ความสำคัญกับการบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินบัญชีของกิจการอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยสร้างเครดิตที่ดีของธุรกิจในระยะยาว ทั้งกับหุ้นส่วนหรือสถาบันการเงินที่จะไปใช้บริการ

รายได้ที่เป็นเงินสดควรจะนำเข้าผ่านบัญชีของกิจการ จะเข้าทุกวันหรือรวมๆ กันก็ได้ และเมื่อถึงเวลาจะต้องจ่ายเงินไม่ว่าจะเป็นค่าของ ค่าคน และค่าใช้จ่ายจิปาถะ ก็ควรจะเบิกจ่ายออกจากบัญชีให้เป็นเรื่องเป็นราว

เสียเวลานิดหน่อย แต่ทำให้เป็นระบบ เจ้าของกิจการจะได้มองเห็นผลการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน เวลาจะไปกู้ธนาคารก็ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายความมากมาย ทุกอย่างว่ากันอย่างตรงไปตรงมา การพิจารณาสินเชื่อก็จะได้ไวดังที่รัฐบาลตั้งใจไว้

ช่วยกันคนละครึ่งทางแบบนี้ได้…ทุกฝ่ายก็ไม่ต้องหงุดหงิดหัวใจ ธนาคารรัฐก็จะได้ไม่ถูกต่อว่าเหมือนอย่างที่ผ่านมา บรรดาคนทำงานทั้งหลายก็จะได้ไม่เสียกำลังใจในการทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้คนที่กำลังเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

ธุรกิจชูออนไลน์ แห่จดโดเมนเนม เปิดเว็บไซต์เพิ่ม

สิงหาคม 28, 2009

520828095039364ตลาดรับจด “โดเมนเนม” เว็บไซต์คึกคัก คนแห่จดทะเบียนเพิ่ม 2 เท่า หวังพึ่งตลาด อินเทอร์เน็ตหลังเศรษฐกิจพ่นพิษ จับตาการแข่งขันดุเดือด

ผู้ดูแลโดเมนเนมเร่งอัดฉีดโปรโมชั่นเพียบ เตรียมรับมือปีหน้าโดเมนเนมใหม่ทะลักหลังไอแคนน์เปิดเสรีใช้ โดเมนภาษาท้องถิ่น “ที.เอช.นิค” เปิดเกมดัมพ์ราคาโดเมนเนม “.th ” เหลือ 199 บาท กระตุ้นลูกค้า

นางสาวเพ็ญศรี อรุณวัฒนามงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดอทอะไร จำกัด ผู้ให้บริการจดโดเมนเนม กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมการจด โดเมนเนมของประเทศไทยในปีนี้ตั้งแต่ต้นปีพบว่ามีความคึกคักมากขึ้น โดยมีจำนวน ผู้มาจดทะเบียนขอใช้สกุลต่างๆ เช่น .th, .com, .org, .net เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สวนกระแสเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจัยจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้บริษัทต่างๆ หันมองสื่อ อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์มากขึ้น เพราะเป็นสื่อที่ใช้เงินน้อยและเห็นผลชัดเจน ทำให้มีความจำเป็นต้องจดโดเมนใหม่ๆ และคาดว่าความต้องการนี้จะต่อเนื่องไปถึง ครึ่งปีหลัง

โดยจะเห็นภาพการแข่งขันจากการทำโปรโมชั่นของผู้ให้บริการโดเมนต่างๆ ที่เริ่มเห็นการแข่งขันตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา เช่น .th มีการทำโปรโมชั่น 199 บาท, .asia โปรโมชั่นของแถมแก่ลูกค้า หรือ .tel มีการเพิ่มแอปพลิเคชั่นใหม่ ทำให้คนสนใจเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น

สำหรับบริษัทดอตอะไรปีนี้มีผู้มาจดโดเมนใหม่ประมาณ 400-500 รายต่อเดือน จากปีที่แล้วเฉลี่ยเดือนละ 200-300 ราย โดยสกุลหลักที่มีการจดทะเบียนกับบริษัทมากที่สุดคือ .th 50% ตามมาด้วย .com 40%

สาเหตุที่ช่วงนี้ผู้ดูแลฐานข้อมูลแต่ละ โดเมนหรือเรียกว่า registry มีการทำ โปรโมชั่นกันมากเป็นพิเศษเพราะปีหน้าจะมีโดเมนใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก เนื่องจากองค์กร Internet Corporation for Assigned Names and Number หรือ ไอแคนน์ซึ่งเป็นองค์กรสากลดูแลการเปิดให้บริการโดเมนนั้นจะเปิดใช้สกุลโดเมนใหม่ที่เป็นภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยแก่องค์กรหรือผู้สนใจทั่วไป ทำให้ registry ในตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบันต้องเร่งดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้มาเปิดโดเมนสกุลของตน

“ปีหน้าการแข่งขันจะยิ่งสูงมาก เพราะทางเลือกของผู้ใช้งานจะมีมากขึ้น ทำให้ โดเมนที่มีอยู่ต้องรีบแย่งตลาด จับจองลูกค้าไว้เพราะจะได้ประโยชน์จากการต่ออายุสมาชิกในอนาคต ดังนั้นผู้ดูแล registry อาจได้รับผลกระทบเพราะต้องแย่งลูกค้ากัน จึงทำให้มีโปโมชั่นเกิดขึ้น แต่ในฐานะตัวแทนผู้รับจดและรีเซลเลอร์นั้นจะได้ประโยชน์ เพราะมีทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น”

นางสาวเพ็ญศรีกล่าวต่ออีกว่า กรณีการเปิดโดเมนเป็นภาษาไทยนั้น สำหรับประเทศไทยมีมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กำลังหารือร่วมกันเพื่อขอใช้สกุล “.ไทย” กับทางไอแคนน์ในปีหน้า และหากกระบวนการสมัครเสร็จสิ้นน่าจะเปิดให้บริการแก่องค์กรหรือผู้สนใจทั่วไปได้ในไตรมาส 3 ปี 2553

โดยค่าธรรมเนียมในการใช้บริการสกุล.ไทยอาจจะถูกกว่าค่าธรรมเนียมสกุลอื่นๆ เพราะจุดประสงค์ของโดเมนที่เป็นภาษาไทยคือลดช่องว่างด้านภาษา และเพิ่มโอกาสให้ชาวท้องถิ่นสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น

ด้านนายภาคภูมิ ไตรพัฒน์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด ผู้ให้บริการจดโดเมนเนมสกุล .th ในไทย กล่าวว่า สถานการณ์การจดโดเมนในไทยปีนี้พบว่ามีการเติบโตมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากสภาพเศรษฐกิจทำให้คนจำนวนมากหันมาสร้างธุรกิจบนเว็บไซต์ ความต้องการใช้โดเมนจึงมมากขึ้น หากสังเกตจากตัวเลขของบริษัทเองพบว่าเดือนกรกฎาคมมีลูกค้ามาขอจดโดเมนใหม่ 1,200 ราย จาก ก.ค. ปี 2551 มีผู้จดทะเบียน 700 ราย

ขณะเดียวกันมีผู้ให้บริการรับจดโดเมน หรือรีเซลเลอร์เพิ่มขึ้นด้วย เพราะคนกลุ่มนี้มองว่าการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตง่าย ทำเงินได้ และไม่ต้องลงทุนมาก ทำให้คนเข้ามาเป็นตัวแทนจำหน่ายมากขึ้น

สำหรับทีเอชนิคนอกจากการขยายรีเซลเลอร์เพิ่มขึ้นเป็น 40 รายแล้ว ปลายปีที่ผ่านมาได้จัดทำโปรโมชั่นเป็นครั้งแรก โดยสกุล .in.th ราคาเพียง 199 บาท จากปกติประมาณ 850 บาท เพื่อขยายฐานลูกค้าและกระตุ้นผู้ใช้งานทั่วไปให้หันมาเลือกใช้สกุล .th มากขึ้น ส่งผลเพิ่มจำนวนผู้จดโดเมน .in.th เพิ่มขึ้นเป็น 300-400 ราย ต่อเดือน จากก่อนจัดโปรโมชั่นมีลูกค้าไม่ถึง 100 ราย และหลังจากนี้บริษัทมีแผนจะจัดโปรโมชั่นกับสกุลอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ .th มีสัดส่วนในตลาดผู้ใช้โดเมนประมาณ 7-8% หรือประมาณ 3.56 หมื่นราย ขณะที่ .com มีประมาณ 80-90% ของผู้ใช้โดเมนทั้งหมด

ซอฟต์แวร์ไทยไปนอก โอกาสใหม่ผู้ประกอบการไทย

สิงหาคม 26, 2009

520826100209801

ไม่เพียงแต่ตลาดในประเทศเท่านั้น ที่เป็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ซอฟต์แวร์ไทย เพราะปัจจุบันซอฟต์แวร์ไทยเริ่มได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการจ้างงาน (เอาต์ซอร์สซิง) มายังผู้ประกอบการไทยมากขึ้น

การจ้างงานดังกล่าวมีทั้ง การนำงานเข้ามาในประเทศไทยและการจ้าง ผู้ประกอบการไทยให้ไปวางระบบ หรือ ติดตั้งซอฟต์แวร์ในต่างประเทศ ส่งผลให้ตลาดต่างประเทศกำลังเป็นโอกาสใหม่ของผู้ประกอบการไทย ที่จะมีโอกาสเจาะเข้าไปและสร้างรายได้ให้กับบริษัทตัวเอง รวมทั้งรายได้กลับเข้าประเทศมากขึ้นตามมาด้วย

ผู้ประกอบการรวมตัวเปิดตลาดใหม่

ที่ผ่านมาได้มีผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย 8 ราย คือ เอ็มเอฟอีซี ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เอสเอสซี โซลูชั่น ให้บริการด้านกรีน ซอฟต์แวร์ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เอไอซอฟท์ บริการด้านโซลูชันเพื่อการท่องเที่ยว ทีมเวิร์ค โซลูชั่น ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการ บริหารองค์กร พรอมท์นาว ผู้ผลิตเกมบนโทรศัพท์มือถือและโมบาย แอพพลิเคชัน ไทยเควสท์ ให้บริการเสิร์ชเอนจิน สุวิเทค ให้บริการด้านโทรคมนาคม และไอซ์ โซลูชั่น ให้บริการโอเพนซอร์สและระบบปฏิบัติ การลีนุกซ์ ไปชิมลางเอาต์ซอร์สให้กับตลาดใหญ่ในยุโรปที่มีมูลค่าการเอาต์ซอร์สสูง มากกว่า 230 ล้านยูโรต่อปีมาแล้ว

ขณะที่ผู้ประกอบการอีกกลุ่มให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียน โดยเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มุ่งเจาะบริการใน 3 กลุ่มหลัก คือ ประกัน การเงิน และก่อสร้าง

กิตตินันท์ อนุพันธ์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการส่งออก อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ไทย (TSEP) กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของซอฟต์แวร์ไทยในการไปเปิดตลาดต่างประเทศนั้น เกิดจากการรวมตัวระหว่าง ผู้ประกอบการเอง ซึ่งในสมาคมมีอยู่ประมาณ 30 ราย แล้วเดินทางไปยังประเทศที่ต้องการเพื่อดูความเป็นไปได้ ซึ่งทางทีเซ็ปเริ่มจากประเทศเวียดนาม เพราะมีความต้องการที่ใกล้เคียง และเปิดรับผู้ประกอบการไทยค่อนข้างสูงหากเทียบกับประเทศอื่นๆ

ทั้งนี้ หลังจากพบตลาดที่เป็นไปได้ใน 3 กลุ่มดังกล่าว ผู้ประกอบการไทยจึงรวมตัวกัน และจัดตั้งสำนักงานในกรุงโฮจิมินห์ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อและสามารถให้บริการบริษัทต่างๆ ในเวียดนามได้ทันที โดยสมาคมได้เข้าไปเจาะตลาดเวียดนามมา 2 ปีแล้ว และสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายได้ 400 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดตลาดใหม่ในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเพิ่มอีก

มุ่งเจาะตลาดเอสเอ็มอี

การไปเปิดตลาดครั้งนี้จะมุ่งไปที่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นหลัก เพราะ ผู้ประกอบการไทยที่เป็นเอสเอ็มอีเหมือนกัน จะมีความเข้าใจในความต้องการมากกว่าการมุ่งเน้นแข่งขันกับบริษัทผู้ผลิต ซอฟต์แวร์ระดับโลก ซึ่งเชี่ยวชาญใน สเกลระดับใหญ่ที่ผู้ประกอบการไทยสู้ไม่ได้ โดยการมุ่งตลาดเอสเอ็มอีจะทำให้เข้าถึง ได้ง่ายกว่า และสามารถปรับเปลี่ยนให้ เข้ากับความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดมากกว่าด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของผู้ประกอบการไทยที่พบคือ ลูกค้ายังคงเชื่อมั่นใน ผู้ผลิตรายใหญ่ที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล หรือมีความเป็นอินเตอร์แบรนด์มากกว่า ที่จะเลือกใช้บริการของซอฟต์แวร์ไทย แม้ราคาของซอฟต์แวร์ไทยจะถูกกว่าหลายเท่าก็ตาม รวมทั้งไทยยังขาดเรื่องนวัตกรรมและแอพพลิเคชันใหม่ๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องพยายามหา จุดต่าง และมุ่งเจาะไปยังกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญจริงๆ มากกว่าที่จะเปิดตลาดแบบหว่านในวงกว้าง ซึ่งไม่ส่งผลดี

ภาครัฐร่วมมือหนุนจริงจัง

กิตตินันท์ กล่าวว่า ระยะหลังๆ ภาครัฐเริ่มเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น โดยล่าสุดได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออก และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) ทั้งในเรื่องงบประมาณ การประสานงานระหว่างรัฐบาล การหาแหล่งตลาดผู้ซื้อ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการไทยทำงานได้ง่ายขึ้น หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมาต้องดำเนินการ กันเอง

การที่ภาครัฐเห็นความสำคัญของซอฟต์แวร์ไทยมากขึ้นนั้น จะช่วยให้ซอฟต์แวร์ไทยได้รับการพัฒนามากขึ้น ทั้งในเรื่องแอพพลิเคชันและด้านนวัตกรรม ที่ตรงกับความต้องการของตลาด เพราะ ที่ผ่านมาถือเป็นจุดที่ทำให้ไทยเสียเปรียบคู่แข่งต่างชาติ แม้ว่าจะมีราคาถูกกว่า ก็ตาม

นิรชราภา ทองธรรมชาติ รอง ผู้อำนวยการการตลาดต่างประเทศ ซิป้า กล่าวว่า ซิป้าจะให้ความช่วยเหลือใน เรื่องการจัดหาบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาให้ คำแนะนำในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ ตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อให้ ผู้ประกอบการมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงประเทศที่มีความเป็นไปได้ที่จะไปเปิดตลาดใหม่ๆ

การเปิดตลาดซอฟต์แวร์ไปยังต่างประเทศมากขึ้น จะช่วยให้เพิ่มสัดส่วน การส่งออกของไทยให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ที่มีมูลค่าเพียง 6,000 ล้านบาท เทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย ที่มีมูลค่าการส่งออกกว่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะที่การใช้จ่ายซอฟต์แวร์ในประเทศ มีสัดส่วนเพียง 20% ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์รวม 5.7 หมื่นล้านบาท

ปัจจุบันการดำเนินงานด้านการตลาดต่างประเทศของซิป้า สามารถสร้างเม็ดเงินกลับเข้าประเทศได้ประมาณ 2,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีเม็ดเงิน 488 ล้านบาท แบ่งเป็น ดิจิตอล คอนเทนต์ 48.6% ซอฟต์แวร์เพื่อการลงทุนขนาดใหญ่ 39.6% และซอฟต์แวร์ฝังตัวในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 12.8% รวมทั้งสามารถจับคู่ธุรกิจได้ 870 บริษัท จากปี ที่แล้วที่ได้ประมาณ 552 บริษัท

เช่นเดียวกับ ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการโปรแกรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ระบุว่า ทางสวทช.ได้เข้ามาสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยให้สามารถเข้าสู่ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (เอชดีดี) ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของความรู้ด้านเทคโนโลยีและสถาบันการเงิน

การหันมาส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยอย่างจริงจังนั้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเอชดีดี มีมูลค่าการส่งออกรวมทั่วโลกปีละ 5 แสนล้านบาท แต่การจ้างงานส่วนใหญ่ตกเป็นของประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน ทั้งๆ ที่ไทยมีความสามารถในการผลิตเพื่อการส่งออกเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากได้รับการสนับสนุนถูกทาง คาดว่าประเทศไทยจะมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นในตลาดโลกเป็น 7.5 หมื่นล้านบาท ภายใน 3 ปี จากปัจจุบันที่มีอยู่ 10% หรือ 5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น

แม้ขณะนี้การเข้าไปเปิดตลาดต่างประเทศของซอฟต์แวร์ไทยยังเป็นเพียงมูลค่า เล็กๆ หากเทียบกับตลาดรวมทั้งหมด แต่นับเป็นสัญญาณที่ดีที่ผู้ประกอบการไทยที่ได้มีโอกาสเข้าไปเจาะตลาด และได้รับการยอมรับมากขึ้น ท่ามกลางคู่แข่งตัว ฉกาจอย่างประเทศใหญ่ๆ

คงจะดีมากขึ้นไปอีก หากภาครัฐจะหันมาเห็นความสำคัญและให้การส่งเสริมในระยะยาว เพื่อผลักดันซอฟต์แวร์ไทยได้ไปปักหมุดในเวทีโลกอย่างแท้จริง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ksmecare.com

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ศก.ญี่ปุ่นเริ่มฟื้น ผลดีต่อการค้าและการลงทุนของไทย

สิงหาคม 26, 2009

520826095742817ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้สะท้อนให้เห็นว่า ญี่ปุ่นได้ผ่านพ้นช่วงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจมาแล้ว

การจ้างงานดังกล่าวมีทั้ง การนำงานเข้ามาในประเทศไทยและการจ้าง ผู้ประกอบการไทยให้ไปวางระบบ หรือ ติดตั้งซอฟต์แวร์ในต่างประเทศ ส่งผลให้ตลาดต่างประเทศกำลังเป็นโอกาสใหม่ของผู้ประกอบการไทย ที่จะมีโอกาสเจาะเข้าไปและสร้างรายได้ให้กับบริษัทตัวเอง รวมทั้งรายได้กลับเข้าประเทศมากขึ้นตามมาด้วย

ผู้ประกอบการรวมตัวเปิดตลาดใหม่

ที่ผ่านมาได้มีผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย 8 ราย คือ เอ็มเอฟอีซี ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เอสเอสซี โซลูชั่น ให้บริการด้านกรีน ซอฟต์แวร์ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เอไอซอฟท์ บริการด้านโซลูชันเพื่อการท่องเที่ยว ทีมเวิร์ค โซลูชั่น ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เพื่อการ บริหารองค์กร พรอมท์นาว ผู้ผลิตเกมบนโทรศัพท์มือถือและโมบาย แอพพลิเคชัน ไทยเควสท์ ให้บริการเสิร์ชเอนจิน สุวิเทค ให้บริการด้านโทรคมนาคม และไอซ์ โซลูชั่น ให้บริการโอเพนซอร์สและระบบปฏิบัติ การลีนุกซ์ ไปชิมลางเอาต์ซอร์สให้กับตลาดใหญ่ในยุโรปที่มีมูลค่าการเอาต์ซอร์สสูง มากกว่า 230 ล้านยูโรต่อปีมาแล้ว

ขณะที่ผู้ประกอบการอีกกลุ่มให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียน โดยเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มุ่งเจาะบริการใน 3 กลุ่มหลัก คือ ประกัน การเงิน และก่อสร้าง

กิตตินันท์ อนุพันธ์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมการส่งออก อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ไทย (TSEP) กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของซอฟต์แวร์ไทยในการไปเปิดตลาดต่างประเทศนั้น เกิดจากการรวมตัวระหว่าง ผู้ประกอบการเอง ซึ่งในสมาคมมีอยู่ประมาณ 30 ราย แล้วเดินทางไปยังประเทศที่ต้องการเพื่อดูความเป็นไปได้ ซึ่งทางทีเซ็ปเริ่มจากประเทศเวียดนาม เพราะมีความต้องการที่ใกล้เคียง และเปิดรับผู้ประกอบการไทยค่อนข้างสูงหากเทียบกับประเทศอื่นๆ

ทั้งนี้ หลังจากพบตลาดที่เป็นไปได้ใน 3 กลุ่มดังกล่าว ผู้ประกอบการไทยจึงรวมตัวกัน และจัดตั้งสำนักงานในกรุงโฮจิมินห์ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อและสามารถให้บริการบริษัทต่างๆ ในเวียดนามได้ทันที โดยสมาคมได้เข้าไปเจาะตลาดเวียดนามมา 2 ปีแล้ว และสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายได้ 400 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดตลาดใหม่ในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเพิ่มอีก

มุ่งเจาะตลาดเอสเอ็มอี

การไปเปิดตลาดครั้งนี้จะมุ่งไปที่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเป็นหลัก เพราะ ผู้ประกอบการไทยที่เป็นเอสเอ็มอีเหมือนกัน จะมีความเข้าใจในความต้องการมากกว่าการมุ่งเน้นแข่งขันกับบริษัทผู้ผลิต ซอฟต์แวร์ระดับโลก ซึ่งเชี่ยวชาญใน สเกลระดับใหญ่ที่ผู้ประกอบการไทยสู้ไม่ได้ โดยการมุ่งตลาดเอสเอ็มอีจะทำให้เข้าถึง ได้ง่ายกว่า และสามารถปรับเปลี่ยนให้ เข้ากับความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดมากกว่าด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของผู้ประกอบการไทยที่พบคือ ลูกค้ายังคงเชื่อมั่นใน ผู้ผลิตรายใหญ่ที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล หรือมีความเป็นอินเตอร์แบรนด์มากกว่า ที่จะเลือกใช้บริการของซอฟต์แวร์ไทย แม้ราคาของซอฟต์แวร์ไทยจะถูกกว่าหลายเท่าก็ตาม รวมทั้งไทยยังขาดเรื่องนวัตกรรมและแอพพลิเคชันใหม่ๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องพยายามหา จุดต่าง และมุ่งเจาะไปยังกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญจริงๆ มากกว่าที่จะเปิดตลาดแบบหว่านในวงกว้าง ซึ่งไม่ส่งผลดี

ภาครัฐร่วมมือหนุนจริงจัง

กิตตินันท์ กล่าวว่า ระยะหลังๆ ภาครัฐเริ่มเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น โดยล่าสุดได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออก และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) ทั้งในเรื่องงบประมาณ การประสานงานระหว่างรัฐบาล การหาแหล่งตลาดผู้ซื้อ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการไทยทำงานได้ง่ายขึ้น หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมาต้องดำเนินการ กันเอง

การที่ภาครัฐเห็นความสำคัญของซอฟต์แวร์ไทยมากขึ้นนั้น จะช่วยให้ซอฟต์แวร์ไทยได้รับการพัฒนามากขึ้น ทั้งในเรื่องแอพพลิเคชันและด้านนวัตกรรม ที่ตรงกับความต้องการของตลาด เพราะ ที่ผ่านมาถือเป็นจุดที่ทำให้ไทยเสียเปรียบคู่แข่งต่างชาติ แม้ว่าจะมีราคาถูกกว่า ก็ตาม

นิรชราภา ทองธรรมชาติ รอง ผู้อำนวยการการตลาดต่างประเทศ ซิป้า กล่าวว่า ซิป้าจะให้ความช่วยเหลือใน เรื่องการจัดหาบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาให้ คำแนะนำในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ ตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อให้ ผู้ประกอบการมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงประเทศที่มีความเป็นไปได้ที่จะไปเปิดตลาดใหม่ๆ

การเปิดตลาดซอฟต์แวร์ไปยังต่างประเทศมากขึ้น จะช่วยให้เพิ่มสัดส่วน การส่งออกของไทยให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ที่มีมูลค่าเพียง 6,000 ล้านบาท เทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม มาเลเซีย ที่มีมูลค่าการส่งออกกว่า 1 หมื่นล้านบาท ขณะที่การใช้จ่ายซอฟต์แวร์ในประเทศ มีสัดส่วนเพียง 20% ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์รวม 5.7 หมื่นล้านบาท

ปัจจุบันการดำเนินงานด้านการตลาดต่างประเทศของซิป้า สามารถสร้างเม็ดเงินกลับเข้าประเทศได้ประมาณ 2,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีเม็ดเงิน 488 ล้านบาท แบ่งเป็น ดิจิตอล คอนเทนต์ 48.6% ซอฟต์แวร์เพื่อการลงทุนขนาดใหญ่ 39.6% และซอฟต์แวร์ฝังตัวในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 12.8% รวมทั้งสามารถจับคู่ธุรกิจได้ 870 บริษัท จากปี ที่แล้วที่ได้ประมาณ 552 บริษัท

เช่นเดียวกับ ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการโปรแกรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ระบุว่า ทางสวทช.ได้เข้ามาสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยให้สามารถเข้าสู่ อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (เอชดีดี) ได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของความรู้ด้านเทคโนโลยีและสถาบันการเงิน

การหันมาส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยอย่างจริงจังนั้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเอชดีดี มีมูลค่าการส่งออกรวมทั่วโลกปีละ 5 แสนล้านบาท แต่การจ้างงานส่วนใหญ่ตกเป็นของประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน ทั้งๆ ที่ไทยมีความสามารถในการผลิตเพื่อการส่งออกเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากได้รับการสนับสนุนถูกทาง คาดว่าประเทศไทยจะมีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นในตลาดโลกเป็น 7.5 หมื่นล้านบาท ภายใน 3 ปี จากปัจจุบันที่มีอยู่ 10% หรือ 5 หมื่นล้านบาทเท่านั้น

แม้ขณะนี้การเข้าไปเปิดตลาดต่างประเทศของซอฟต์แวร์ไทยยังเป็นเพียงมูลค่า เล็กๆ หากเทียบกับตลาดรวมทั้งหมด แต่นับเป็นสัญญาณที่ดีที่ผู้ประกอบการไทยที่ได้มีโอกาสเข้าไปเจาะตลาด และได้รับการยอมรับมากขึ้น ท่ามกลางคู่แข่งตัว ฉกาจอย่างประเทศใหญ่ๆ

คงจะดีมากขึ้นไปอีก หากภาครัฐจะหันมาเห็นความสำคัญและให้การส่งเสริมในระยะยาว เพื่อผลักดันซอฟต์แวร์ไทยได้ไปปักหมุดในเวทีโลกอย่างแท้จริง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้สะท้อนให้เห็นว่า ญี่ปุ่นได้ผ่านพ้นช่วงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจมาแล้ว

โดยสถิติจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า จีดีพีในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ของญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2551 เมื่อเทียบรายปี   (q-o-q annualized) และเติบโตร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (q-o-q) ซึ่งกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 4.6 ล้านล้านเยน ยังคงลดลงกว่าร้อยละ 35 (y-o-y) แต่อัตราหดตัวชะลอลง

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 4.1 ล้านล้านเยน อัตราหดตัวชะลอลงเช่นเดียวกันเหลือร้อยละ 41 (y-o-y) ส่งผลให้ญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือน ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมใน เดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 81 จุด เทียบกับในเดือนพฤษภาคมในระดับ 79.1 จุด ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคภาคครัวเรือนล่าสุดในเดือนกรกฎาคมทะลุ 39 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 1.8 จุด แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทุ่มงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 25 ล้านล้านเยน (2.62 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่ญี่ปุ่นยังต้องเผชิญกับความท้าทายจากภาวะการว่างงานที่เพิ่มขึ้นติดต่อ กัน 6 เดือน (ม.ค-มิ.ย.) นอกจากนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มที่นำไปสู่ภาวะเงินฝืด

เนื่องจากดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 โดยในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 1.8 ขณะที่ดัชนียอดค้าปลีกในเดือนเดียวกันลดลงร้อยละ 0.3 สะท้อนถึงกำลังการใช้จ่ายของผู้บริโภคภายในประเทศที่ยังคงอ่อนตัวเนื่องจาก อัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสูงทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย ส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.1 เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศให้ฟื้นตัวดีขึ้น

โดยรายงานจาก Focus Economics Consensus ในเดือนสิงหาคมคาดการณ์ว่า ในปี 2552 ญี่ปุ่นน่ามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงร้อยละ 6.4 และคาดว่าน่าจะขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2553 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์ภาวะการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) รวมถึงทิศทางการค้าและการลงทุนของไทย-ญี่ปุ่นในช่วงที่เหลือของปีนี้ดังนี้

ด้านการค้า ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกกดดันให้การค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นชะลอลงในปี 2552 โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ค. 2552) มูลค่าการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นรวม 20,744 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ลดลงกว่าร้อยละ 34 (y-o-y) มูลค่าการส่งออกราว 8,471 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ หดตัวร้อยละ 28.09 (y-o-y) และมูลค่านำเข้าสินค้าทั้งสิ้น 12,273 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ลดลงเกือบร้อยละ 38   (y-o-y)

ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่นที่หดตัวได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และยางพารา อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า มีเพียงการส่งออกสินค้าไก่แปรรูปที่ยังคงขยายตัว ส่วนการนำเข้าหลักของไทยจากญี่ปุ่นหดตัวทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าใน กลุ่มอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่นน่าจะกระเตื้องขึ้นตามภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โลกและทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ส่งสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากการส่งออกจากไทยไปญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นโดยขยาย ตัวเกือบร้อยละ 5 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา (m-o-m) อีกทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากความตกลง FTA อาเซียน-ญี่ปุ่นในการเปิดเสรีการค้าสินค้า

โดยสินค้าส่งออกจากไทยไปญี่ปุ่นที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นได้แก่ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปโดยเฉพาะไก่แปรรูป และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ส่วนสินค้าส่งออกของไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้ายานยนต์และส่วนประกอบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ด้านการลงทุน  จำนวนและมูลค่าโครงการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยลดลงในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เนื่องจากญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลทำให้เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นทรุดตัวอย่างหนักในปีที่ผ่านมา โดยจำนวนโครงการการลงทุนของญี่ปุ่นที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทย 130 โครงการ ลดลงร้อยละ 30.8 (y-o-y) และมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 30.2 พันล้านบาท ลดลงกว่าร้อยละ 20 (y-o-y) เทียบกับในช่วงเดียวกันของปี 2551 มูลค่า 37.8 พันล้านบาท สาขาลงทุนที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในไทยส่วนใหญ่ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมโลหะและเครื่องจักร อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และกระดาษ และอุตสาหกรรมภาคบริการ

สำหรับแนวโน้มการลงทุนของญี่ปุ่นในไทย คาดว่าคาดว่าโครงการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยน่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือ ของปีนี้เนื่องจากญี่ปุ่นได้ผ่านพ้นภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจไปแล้ว และเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยสาขาการลงทุนที่คาดว่านักลงทุนญี่ปุ่นน่าจะเข้ามาขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น ในไทยได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานตามแนวโน้มการเติบโตของอุปสงค์ในตลาด และนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานทางเลือกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ ทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นและไทย

นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นสามารถใช้ไทยเป็น ฐานการผลิตเพื่อป้อนสินค้ากลับสู่ญี่ปุ่น โดยนักลงทุนญี่ปุ่นสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง JTEPA และความตกลง FTA อาเซียน-ญี่ปุ่นในด้านลด/ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยกลับเข้าไปในญี่ปุ่น รวมถึงการลงทุนในส่วนของอุตสาหกรรมภาคบริการในประเทศไทยซึ่งมีแนวโน้มการ เติบโตมากขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนธุรกิจการขนส่ง ค้าปลีก การก่อสร้างและการเงินประกันภัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองของไทยที่ยังไม่มีความแน่นอนและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ 2009 อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจของนักลงทุนญี่ปุ่นให้ชะลอการ ลงทุนในไทยได้เช่นกัน อีกทั้งยังมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันที่มีทิศทางขาขึ้น

ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าและค่าเงินบาทที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับชาติอาเซียน อื่นๆ ส่วนปัจจัยทางการเมืองของญี่ปุ่นที่ภาคธุรกิจไทยควรจับตามองคือกำหนดการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ในวันที่ 30 สิงหาคม 2552 ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า นโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองและผู้นำประเทศของญี่ปุ่นที่จะก้าวขึ้นมาบริ หารประเทศคนต่อไปจะส่งผลต่อประเทศไทยทั้งในด้านการค้าและการลงทุน เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าและประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยเป็นอันดับ ที่ 1

สินค้าเกาะกระแส”เฟซบุ๊ก-ไฮไฟฟ์” รร.-อสังหา-ไอทีแห่ทำ”โซเชียลเน็ตเวิร์กมาร์เก็ตติ้ง”

สิงหาคม 24, 2009

520824101725516

“โซเชียลเน็ตเวิร์ก” มาแรง สินค้าแบรนด์ดังแห่เกาะกระแสทำแคมเปญการตลาดผ่าน “เฟซบุ๊ก-ไฮไฟฟ์” หลังยอดผู้ใช้เฟซบุ๊ก ในไทยทะลุ 1 ล้านราย

ขณะที่ไฮไฟฟ์อยู่ที่ 6 ล้านราย เผยทั้งโรงแรม อสังหาฯ รถยนต์ ไอที เพิ่มน้ำหนักโฆษณาออนไลน์ ดันเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์พุ่งถึง 1,800 ล้าน ด้าน “ไฮไฟฟ์” รุกหนักเตรียมเปิดแพ็กเกจโฆษณาออนไลน์ใหม่ เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรม พร้อมเปิดขายพื้นที่เอาใจลูกค้า-เอเยนซี่ เจาะกลุ่มสมาชิกกว่า 6 ล้านราย

นายทิวา ยอร์ก กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดเม็กซ์ ประเทศไทย จำกัดให้บริการโฆษณาออนไลน์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันแนวโน้มของโฆษณาออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมและมาแรง คือการโฆษณา หรือการตลาดผ่านเครือข่ายสังคม (social network) โดยเฉพาะเฟซบุ๊กและไฮไฟฟ์ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากกลุ่มธุรกิจและเจ้าของสินค้าต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ อสังหาริมทรัพย์ เพื่อเจาะเข้าถึงคอมมิวนิตี้ของผู้อยู่ในเครือข่าย ซึ่งสามารถโฟกัสกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้

ส่วนหนึ่งมาจากเครือข่ายสังคมในไทยเติบโตมาก อาทิ ผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ก จากต้นปีมีผู้ใช้ในไทยประมาณ 2 แสนราย ปัจจุบันจากข้อมูล checkfacebook.com มีผู้ใช้ในไทย ล่าสุดประมาณ 1 ล้านราย ทำให้มีโอกาสทางการตลาดสำหรับสินค้าและบริการต่างๆ มากขึ้น

โดยรูปแบบการให้บริการเครือข่าย สังคมออนไลน์ มีทั้งการประชาสัมพันธ์และการสร้างแคมเปญผ่านเครือข่ายสังคม ออนไลน์ อาทิ ลูกค้าของบริษัท กลุ่มโรงแรมในเครือแอคคอร์ มีการจัดโครงการ Ibis idol เพื่อหาแบรนด์แอมบาสซาเดอร์ โดยใช้เฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์โครงการ หรือบริษัทอสังหาริมทรัพย์อย่างแสนสิริ ก็หันมาใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการทำมาร์เก็ตติ้งมากขึ้น เป็นต้น

นายทิวากล่าวว่า จากการที่เฟซบุ๊กเป็นหนึ่งในเครือข่ายเว็บไซต์ที่บริษัทให้บริการขายโฆษณาออนไลน์ พบว่าปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามการโฆษณาผ่านเว็บไซต์อื่นๆ ก็ยังมีอยู่เช่นกัน เพื่อที่จะให้การทำมาร์เก็ตติ้ง หรือแคมเปญต่างๆ ครอบคลุมกลุ่ม เป้าหมาย โดยปีนี้ผู้ผลิตสินค้าแต่ละแบรนด์เฉลี่ยใช้เม็ดเงินสำหรับโฆษณาออนไลน์เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คาดว่าปีนี้เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์จะอยู่ที่ 1,200-1,500 ล้านบาท โดยกลุ่มที่ใช้โฆษณา ออนไลน์มากที่สุด คือกลุ่มท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ อสังหาริมทรัพย์ และรถยนต์

ด้านนายกษมาช นีรปัทมะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ท็อปสเปซ จำกัด ผู้ให้บริการโฆษณาออนไลน์เครือสนุกและไฮไฟฟ์ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การโฆษณาออนไลน์ผ่านเครือข่ายสังคม กำลังมาแรง และยังมีโอกาสเติบโตสูง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับความต้องการของลูกค้าว่าจุดประสงค์การทำตลาดตรงกับโซเชียลเน็ตเวิร์กมาร์เก็ตติ้งหรือไม่ เพราะการทำตลาดผ่านเครือข่ายสังคมจะเหมาะกับแคมเปญที่ต้องการมีกิจกรรมกับคอมมิวนิตี้เป็นหลัก หรือเป็นการทำตลาดแบบไวรัสมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งเจ้าของสินค้าที่จะลงโฆษณาหรือทำกิจกรรมจะสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมาย ตามที่ต้องการได้ ว่าต้องการกลุ่มช่วงอายุเท่าไหร่ เพศอะไร ไลฟ์สไตล์แบบไหน

อย่างไรก็ตามโมเดลการทำตลาดของเฟซบุ๊กและไฮไฟฟ์ ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมที่กำลังได้รับความนิยมในไทยนั้นมีความแตกต่างกัน สำหรับเฟซบุ๊กพื้นที่ส่วนใหญ่เปิดเพื่อโฆษณาลักษณะแบนเนอร์เป็นหลัก ขณะที่ไฮไฟฟ์มีลูกเล่นการทำโฆษณาที่หลากหลายกว่า

ปัจจุบันมีลูกค้าที่ลงโฆษณาหลักๆ ในไฮไฟฟ์ประมาณ 20 รายต่อเดือน 80% นิยมลงเป็นแบนเนอร์ อาทิ โออิชิ, โอเลย์, การ์นิเย่ นอกนั้นจะเป็นกลุ่มที่ทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านหน้าโปรไฟล์ของไฮไฟฟ์ เช่น กลุ่มคอมพิวเตอร์ มือถือ โซนี่ โนเกีย เป็นต้น หรืออย่างโตโยต้าก็มีการทำออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง กับลูกค้า และลิงก์ลูกค้ามาทำออฟไลน์มาร์เก็ตติ้งต่อเนื่อง

นายกษมาชกล่าวว่า สำหรับไฮไฟฟ์ ซึ่งท็อปสเปซเป็นตัวแทนขายโฆษณารายเดียวในประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในช่วงการพัฒนาโมเดลโฆษณาออนไลน์ใหม่ ลักษณะเป็นแพ็กเกจเพื่อช่วยให้คนมีโอกาสเห็นโฆษณามากขึ้น ช่วยให้เจ้าของสินค้าสามารถเข้าถึงผู้ใช้ไฮไฟฟ์ได้มากขึ้น และสามารถดึงดูดให้ผู้ใช้สนใจหน้าเว็บเพจ หรือมีกิจกรรมร่วมในหน้านั้นมากขึ้น

โดยแพ็กเกจใหม่นี้เป็นโมเดลที่ไฮไฟฟ์ทำตลาดในแถบอเมริกาเหนือ แต่บริษัทได้ปรับแพ็กเกจเพื่อให้เข้ากับตลาดไทย และตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ปัจจุบันอยู่ในช่วงการเตรียมตัวเสนอแพ็กเกจให้กับเอเยนซี่และลูกค้า

นอกจากนั้นบริษัทมีแผนจะเปิดพื้นที่โฆษณาแบนเนอร์บนหน้าล็อกอินของไฮไฟฟ์เป็นครั้งแรก ซึ่งจะคิดค่าบริการรายเดือน ปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงการกำหนดราคา เบื้องต้นคาดว่าจะเปิดรับลูกค้าประมาณ 10 ราย ขณะที่โฆษณาแบบ CPM (cost per thousand) ซึ่งจะจ่ายค่าโฆษณาตามอัตราการเห็นของลูกค้า

อย่างไรก็ตามโมเดลการขายโฆษณาแบนเนอร์จะไม่มีการเลือกกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ แต่จะเป็นกลุ่มคนทั่วไปที่เล่นไฮไฟฟ์ จากปัจจุบันมีผู้เข้าใช้เฉลี่ย 2 ล้านคน/วัน จากสมาชิกที่แอ็กทีฟประมาณ 6 ล้านราย

“ส่วนหนึ่งมาจากความสำเร็จของเว็บไซต์สนุกที่มีการขายโฆษณาแบนเนอร์ พบว่าลูกค้าจองเต็มตลอด จึงมีการหารือกับไฮไฟฟ์เพื่อเปิดพื้นที่ขายโฆษณาแบบฟิกซ์ให้ลูกค้าด้วย ตอนนี้อยู่ในช่วงการทำแพ็กเกจ โดยโมเดลแบบใหม่มีประโยชน์กว่าแบบ CPM เพราะวิน-วินทุกฝ่าย ผู้ใช้งานมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะเกิดความคุ้มค่าแก่ เจ้าของแบรนด์และเอเยนซี่”

นายกษมาชกล่าวอีกว่า ปีนี้คาดว่ารายได้โฆษณาออนไลน์ของบริษัทจะเติบโตประมาณ 30% ตลาดโฆษณาออนไลน์ยังเป็นสื่อที่แย่งเม็ดเงินจากสื่อโทรทัศน์ ซึ่งปัจจุบันเอเยนซี่รับรู้ว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์มากขึ้น แต่จะทำอย่างไรถึงจะใช้สื่อออนไลน์มีประสิทธิภาพยังเป็นปัญหาของเอเยนซี่ในปัจจุบัน โดยสัดส่วนตลาดโฆษณาออนไลน์ปี 2551 อยู่ที่ประมาณ 1% ของตลาดโฆษณารวม และปีนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น 1.5-2% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,400-1,800 ล้านบาท

ด้านนายกฤตวิทย์ กฤตยเรืองโรจน์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดคอนซูเมอร์ บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป โซเชียลเน็ตเวิร์กเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เดลล์จึงมีแผนที่จะทำมาร์เก็ตติ้งแคมเปญผ่านทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์เป็นครั้งแรก โดยจะเป็นกิจกรรมแบบ 360 องศา คือมีทั้งออนไลน์และออฟไลน์แบบครบวงจร โดยจะมีการเปิดตัวในเร็วๆ นี้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

สสว. จัดอบรม E-market หนุนเอสเอ็มอีสู่ตลาดโลก

สิงหาคม 21, 2009

5208211028587สสว. เดินหน้าสร้างรูปธรรมส่งเสริม SMEs แข่งขันในตลาดอาเซียน ตามนโยบายรัฐบาล พร้อมผุดโครงการ E-market อัดความรู้ SMEs ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางค้าขายและขยายตลาด เบื้องต้นตั้งเป้าสามารถอบรมผู้ประกอบการผ่านโครงการฯ ได้ถึง 200 ราย

นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือ E-commerce ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุที่เป็นสถานที่สำหรับซื้อขายโดยตรงที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยครอบคลุมทั่วทุกมุมโลก และสามารถโต้ตอบได้โดยตรงกับลูกค้า ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งรายได้มหาศาล

ทั้งนี้ จากผลสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 4 ล้านคน หรือเฉลี่ย 7 เครื่องต่อประชากร 100 คน เท่ากับว่า ผู้ประกอบการ SMEs สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการติดต่อการค้าผ่านโลกไซเบอร์ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สำหรับตลาดในประเทศ และหากพิจารณาถึงตลาดเป้าหมายอื่นๆ เช่น ประเทศจีน ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์กว่า 60 ล้านเครื่อง อินเดีย อีกกว่า 30 ล้านเครื่อง สหรัฐอเมริกา อีกกว่า 50 ล้านเครื่อง นั่นสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดในโลกไซเบอร์เป็นช่องทางในการทำธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล และมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาในประเทศไทยมีผู้ทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจำนวนมาก แต่ที่ประสบผลสำเร็จมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น เนื่องจากความไม่เข้าใจ และเป็นการทำตามกระแสโดยขาดองค์ความรู้ ตลอดจนขาดความตั้งใจในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุนี้ สสว. จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วย E-market ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และเพิ่มทักษะในการทำธุรกิจ E-market ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs

“โครงการเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วย E-market ถือเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ SMEs Flying Geese หรือ โครงการยุทธการฝูงห่าน ซึ่งถือเป็น 1 ใน 4 ของโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่รัฐบาลได้มอบหมายให้ สสว. สานต่ออย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบการด้วยโครงการใหญ่ทั้งสิ้น 4 โครงการ โดยแบ่งรูปแบบการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.การเตรียมความพร้อม ให้แก่ ผู้ประกอบการโดยการจัดทำแหล่งข้อมูล และเชื่อมโยงซัพพลายเชน 2.การดำเนินการฝึกอบรม ให้แก่ ผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมออกสู่ตลาดสากล โดยปัจจุบันโครงการต่างๆ ได้ดำเนินการมาแล้ว ประมาณ 1 เดือน” นายภักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วย E-market จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายด้วย E-market place ระยะที่ 2 การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ในการพัฒนาต่อยอด E-market place ให้เป็น E-Commerce และระยะที่ 3 การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการเชื่อมโยงระบบและเครือข่าย E-Commerce กับต่างประเทศ

ที่ผ่านมา สสว.ได้ดำเนินการฝึกอบรมผู้ประกอบการ SMEs ในโครงการเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วย E-market ไปแล้ว จำนวน 2 รุ่น มีผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมกว่า 40 ราย โดยผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมสามารถสร้างเว็บไซต์ของตนเองผ่านระบบ E-market Place บนเว็บไซต์ของ สสว. ที่เปรียบเสมือนโชว์รูมให้ผู้ประกอบการได้โชว์สินค้าและบริการของตน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

“ปัจจุบันเว็บไซต์ของ สสว. มียอดสมาชิกเข้าใช้งานกว่าหนึ่งแสนราย นั่นเท่ากับว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการตลาดในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs มากยิ่งขึ้น โดย สสว. ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะมีผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมจากโครงการนี้ จำนวน 200 ราย ขณะเดียวกัน สสว. ก็กำลังจัดทำแผนการพัฒนาร้านค้าออนไลน์ในรูปแบบภาษาอังกฤษ โดยจะร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการผลักดันผู้ประกอบการ SMEs สู่ตลาดเอเซียน อันจะส่งผลต่อการขยายตลาดใหม่ๆ ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs ต่อไปในอนาคต” นายภักดิ์ กล่าว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

KBANKคลอด “บัญชีรวมมิตรเอสเอ็มอี” ช่วยจัดการธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จ

สิงหาคม 20, 2009

520819050620710

แบงก์กสิกรไทย ผนวกสุดยอดบริการเพื่อเอสเอ็มอี ออกบริการใหม่ “บัญชีรวมมิตรเอสเอ็มอีกสิกรไทย” ให้เอสเอ็มอีเลือกใช้บริการเพื่อธุรกิจอย่างครบวงจร

KSMEAllin1Account

ทั้งช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรม ทราบความเคลื่อนไหวของบัญชี และจัดการสภาพคล่อง คาดผู้ประกอบการแห่เปิดบัญชีใหม่ไม่ต่ำกว่า 20,000 รายสิ้นปีนี้

ปกรณ์  พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้เอสเอ็มอีซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก เจ้าของกิจการจะต้องบริหารและลงมือทำเองเกือบทั้งหมด ทำให้การจัดการเรื่องเวลาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเอสเอ็มอี ดังนั้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธนาคารกสิกรไทยจึงได้ออกบริการบัญชีรวมมิตรเอสเอ็มอีกสิกรไทย (K-SME All-in-1 Account) ที่ทำให้ลูกค้าสามารถใช้บริการทางการเงินที่ครบวงจร ช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรม ทำให้ทราบความเคลื่อนไหวของบัญชี และช่วยบริหารจัดการสภาพคล่องของธุรกิจ

สำหรับบริการที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำธุรกรรมให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งสามารถทำธุรกรรมได้สะดวกแม้จะอยู่ที่ร้านค้าหรือบริษัทก็ตาม ได้แก่ “บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์กสิกรไทย (K-BizNet)” ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสูงสุด ในการโอนเงิน ชำระค่าสินค้าและบริการ ชำระภาษี และการสั่งซื้อสมุดเช็ค Online โดยลูกค้าไม่ต้องเดินทางมาทำธุรกรรมที่ธนาคาร

ด้านบริการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการทราบความเคลื่อนไหวของบัญชี ประกอบด้วย

“บริการแจ้งรายการเดินบัญชีเงินฝากผ่านเอสเอ็มเอส (Transaction Alert)” บริการที่ช่วยแจ้งเตือนทุกรายการเงินเข้าบัญชีระหว่างวันทันที (Real Time) ผ่าน SMS พร้อมทั้งยังมี

“บริการรับรายการเดินบัญชีทางอีเมลกสิกรไทย (K-email statement)” เป็นการส่งรายงานทุกรายการเข้าออกของเงินในบัญชีทั้งออมทรัพย์และกระแสรายวัน โดยจะส่ง Statement ตรงถึงผู้ประกอบการผ่านอีเมลตามรอบระยะเวลาที่กำหนด และ

“บริการแจ้งเตือนทุกเรื่องเช็คกสิกรไทย (K-Cheque Alert)” โดยเป็นบริการแจ้งเตือนทุกสถานะของเช็คผ่าน SMS ทำให้ผู้ประกอบการรู้สถานะเช็ค และเงินในบัญชีโดยไม่ต้องโทรเช็คยอด สามารถจัดการปัญหาเช็คได้ทันท่วงที

ในส่วนบริการที่ช่วยด้านการจัดการสภาพคล่องของธุรกิจ ประกอบด้วย

“บริการโอนเงินอัตโนมัติระหว่างบัญชีออมทรัพย์และบัญชีกระแสรายวัน (Account Link)” โดยให้บริการโอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์เข้าบัญชีกระแสรายวันอัตโนมัติ เพื่อให้มีเงินเพียงพอในการจ่ายเช็ค และยังสามารถโอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันกลับเข้าบัญชีออมทรัพย์ ทำให้เงินทุกบาทของผู้ประกอบการสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างเต็มที่ และ

“บริการผ่านเช็คพิเศษกสิกรไทย (K-Clearing with Funds)” เป็นบริการใหม่ที่ให้บริการแก่ผู้ประกอบการที่ลงทุนในกองทุน K-Treasury และต้องการสภาพคล่องในการสั่งจ่ายเช็ค เมื่อลูกค้ามีเงินในบัญชีกระแสรายวันไม่เพียงพอ ธนาคารจะช่วยตรวจสอบยอดเงินในกองทุน K-Treasury และหากมีเพียงพอธนาคารก็จะอนุมัติผ่านเช็คให้ลูกค้าก่อน แล้วส่งคำสั่งขายกองทุน K-Treasury  เพื่อชำระเงินคืนธนาคารภายหลัง ผู้ประกอบการจึงสามารถรับโอกาสในการลงทุน พร้อมกับการบริหารสภาพคล่องจากกองทุนนี้ในเวลาเดียวกันได้

“การที่ธนาคารจะออกบริการอะไรมานั้น ได้มีการศึกษาพฤติกรรมความต้องการของลูกค้ายู่ก่อนแล้ว และพบว่าความต้องการของเอสเอ็มอีที่อยากให้เราเข้าไปช่วย ก็คือ ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และความคล่องตัว รวมถึงต้องการทราบความเคลื่อนไหวของบัญชี และความปลอดภัยของข้อมูลด้วย และเชื่อว่าบริการของเรานี้จะสามารถตอบโจทย์ของลูกค้าได้ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีลูกค้ามาเปิดบัญชีใหม่กับธนาคารสิ้นปีนี้ประมาณ 20,000 บัญชีด้วยกัน”

ปกรณ์กล่าวตอนท้ายว่า ลูกค้าเอสเอ็มอีปัจจุบันและลูกค้าใหม่สามารถสมัครใช้บริการ K-SME All-in-1 Account ได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป พร้อมรับสิทธิพิเศษ 2  ต่อ คือ รับฟรีค่าธรรมเนียมใช้บริการ Transaction Alert และ K-Cheque Alert ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. – 31 ธ.ค. 52 และเมื่อเปิดบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือน จะได้อัตราดอกเบี้ยพิเศษบวกเพิ่ม 0.25% จากอัตราดอกเบี้ยที่ประกาศ สำหรับการฝากเงินตั้งแต่ 50,000 – 5 ล้านบาทต่อรายบุคคล ตั้งแต่ 24 ส.ค. – 31 ต.ค. 52 ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ K-Biz Contact Center 0 2888 8822

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ksmecare.com

ธุรกิจ สมุนไพร โอกาสใหม่ ลุยวิจัยเบิกทางส่งออกตปท.

สิงหาคม 18, 2009

520818100953101เอสเอ็มอีหันมาจับธุรกิจเครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ และอาหารเสริมสุขภาพจากสมุนไพรหนาตา หนุนดันให้ขึ้นแท่น “โปรดักท์ แชมเปียน” แข่งเกาหลี

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) หันมาจับธุรกิจเครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ และอาหารเสริมสุขภาพจากสมุนไพรหนาตา หนุนดันให้ขึ้นแท่น “โปรดักท์ แชมเปียน” แข่งกับโสมเกาหลี มาตรฐานจีเอ็มพียังเป็นก้างขวางคอชิ้นใหญ่

เอสเอ็มอีที่เติบโตจากธุรกิจเวชกรรมเริ่มบุกตลาดผลิตภัณฑ์จากสารสกัดสมุนไพรโดยอิงกับผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยกันอย่างคึกคัก จากบริษัทที่เคยเป็นที่รู้จักกันเฉพาะในแวดวง เริ่มคิดใหญ่หาช่องทางส่งผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต่างประเทศ

หนึ่งในนั้นคือ บริษัท อีโค เว็ท จำกัด ที่หยิบเอางานวิจัยเจลและสเปรย์จากขมิ้นชันรักษาโรคผิวหนังและกำจัดแบคทีเรียสำหรับสุนัข และแมว มาพัฒนาเป็นสินค้าเจาะกลุ่มสัตว์เลี้ยง ตลาดใหม่ที่ยังมีคู่แข่งอยู่น้อยราย หลังรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และยังมีแผนรับส่งผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดจากไพล พืชสมุนไพรอีกชนิดที่กำลังถูกปั้นให้เป็นสินค้าแบรนด์ไทย

รศ.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เสาหลักด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทยเห็นพ้องว่า ประเทศไทยมีสมุนไพรหลายตัวที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ อาทิเช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร มีคุณสมบัติเด่นในการรักษาโรคหลายชนิด รวมถึงไข้หวัด หรือแม้กระทั่งพริก

“พืชผักสวนครัวที่คนส่วนใหญ่มองเป็นอาหารเท่านั้น สามารถหยิบมาพัฒนาเป็น Product Champion ของประเทศได้หมด” ผู้บริหารระดับสูงจาก สวทช.กล่าว โดยเทียบเคียงกับโสมเกาหลี ผลิตภัณฑ์ที่ถือว่ามีคุณค่าครอบจักรวาล และเป็นส่งผสมตั้งแต่เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ

เช่นเดียวกับ บางกอกแล็บ แอนด์ คอสเมติค จำกัด ที่นำพันธุ์พริกยอดสนเข็ม 80 ผลงานปรับปรุงพันธุ์จากนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเวชภัณฑ์ยาแก้ปวดเมื่อยจนถึงยาแก้อักเสบในรูปแบบเจลพริกใช้ในโรงพยาบาลแพทย์ทั่วประเทศ และร้านขายยาทั่วไป ส่วนในต่างประเทศจำหน่ายที่เมียนมาร์ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

บางกอกแล็บยังมีโครงการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ ยาคลายกล้ามเนื้อแบบอโรมา ยารักษารากฟัน และมีแผนจะขยายตลาดต่างประเทศทั้งยุโรป และญี่ปุ่น

แม้แต่ธุรกิจที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการแพทย์ และเวชภัณฑ์จากสมุนไพรมานานอย่างโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร นอกจากพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคอย่างยาสีฟัน สบู่ และเครื่องดื่ม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และยาแก้ปวด แก้ไอ ยังสนใจนำนาโนเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพ และหาโอกาสจากเทคโนโลยีสมัยใหม่

ไม่นานมานี้ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ศูนย์นาโนเทคโนโลยี ศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพรไทย ได้ลงนามความร่วมมือวิจัยและพัฒนาภายใต้โครงการวิจัยร่วมนาโนเวชสำอางสมุนไพรไทย

ผศ.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการแนะนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เห็นว่า จุดเด่นที่ทำให้นวัตกรรมจากสมุนไพรเป็นจุดสตาร์ทของธุรกิจเอสเอ็มอีได้ง่ายกว่าอุตสาหกรรมอื่นคือ ใช้เวลาพัฒนาจากขั้นตอนวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์สั้นกว่า

“นวัตกรรมที่เหมาะกับเอสเอ็มอีไทยมากที่สุด ควรเป็นนวัตกรรมเชิงเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร แม้ว่าเราจะมีศักยภาพด้านยานยนต์ การแพทย์ และซอฟต์แวร์ แต่พวกนั้นต้องอาศัยระยะเวลา ขณะเดียวกันประเทศผู้นำเทคโนโลยีเขาล้ำหน้าไปอีกระดับแล้ว” คณบดีนวัตกรรม มจธ. ให้ความเห็น

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญที่เอสเอ็มอีไทยต้องฟันฝ่าเพื่อก้าวสู่ตลาดโลกคือ มาตรฐานสากลที่เฝ้าจับตามองตั้งแต่กระบวนการผลิตสมุนไพร ปริมาณสารสำคัญ ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ยังไม่นับความจำเป็นต้องมีผลวิจัยรองรับ และการทดสอบทางคลินิกยืนยันประสิทธิภาพ

รศ.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณบดีผู้ก่อตั้งคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า มาตรฐานจีเอ็มพี (Good manufacturing practice) คือ เส้นผ่านแดนสำคัญที่จะบอกว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยสามารถก้าวข้ามไปสู่พรมแดนต่างประเทศได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นมาตรฐานปฏิบัติที่ยอมรับกันทั่วโลก

“ที่ผ่านมากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในบ้านเราเน้นแต่ความปลอดภัยเพียงอย่างเดียว ทำให้ยังขาดหลักเกณฑ์การตรวจวัดปริมาณสารสำคัญที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ก็ยังอ้างสรรพคุณเดิมๆ ในรูปของสินค้าโอท็อปราคาถูก แม้จะมีการค้นพบหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาก็ไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภค” นักวิชาการจาก ม.รังสิต กล่าว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ksmecare.com

อาหารส่งออกฟื้นพุ่ง 2 หมื่นล้าน

สิงหาคม 17, 2009

520817101256226ออร์เดอร์คริสต์มาส-ปีใหม่รอต่อคิว จับตาจีนย้ายฐานการผลิตมาลงไทย

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารไทยฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลายประเทศเริ่มขยายตัวในทิศทางที่ดี จนเพิ่มคำสั่งซื้ออาหารเพื่อรองรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่จะถึง ทำให้ผู้ผลิตอาหารไทยต้องเพิ่มกำลังการผลิตและรับแรงงานจำนวนมากโดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นคาดว่าการส่งออกอาหารไทยปี 52 อาจมีมูลค่า 7.4 แสนล้านบาทลดลงจากปีก่อนเพียง 5% แต่เพิ่มจากประมาณการเดิมที่ตั้งไว้ถึง 2 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาหารสำเร็จรูป กุ้ง ไก่ น้ำตาลทราย ปลากระป๋อง เครื่องปรุงรส ข้าวแปรรูป และน้ำผลไม้

ขณะเดียวกันผู้ผลิตอาหารบางรายต้องการให้รัฐบาลเพิ่มเวลาการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวจากปีละ 1 ครั้งเป็น 2 ครั้ง เพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เพิ่มในแต่ละช่วงเวลา หรือใช้วิธีขึ้นทะ เบียนเพื่อขอโควตาแรงงานต่างด้าวล่วงหน้าไว้ช่วงที่คำสั่งซื้อเพิ่มผิดปกติ โดยภาคอุตสาหกรรม อาหารใช้แรงงานต่างด้าวประมาณ 1 แสนคน

“ช่วง 6 เดือนแรกของปีทั่วโลกประ สบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้โรงงานผลิตอาหารไทยใช้กำลังการผลิตเพียง 51.4 ของกำลังผลิตทั้งหมดลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5% โดยส่งออกคิดเป็นมูลค่า 3.54 แสนล้านบาทลดลง 6.6% ส่วนใหญ่ลดลงในกลุ่มเกษตรวัตถุดิบอาหาร อาหารแปรรูปขั้นต้น อาหารสัตว์ ส่วนครึ่งหลังมั่นใจว่าส่งออกจะเพิ่มขึ้นเพราะเศรษฐกิจหลายประเทศในยุโรปและอเมริกาเริ่มฟื้นอย่างชัดเจน”

นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทข้ามชาติหลายรายเตรียมย้ายฐานการผลิตมาอยู่ในไทย โดยเฉพาะบริษัทจากจีนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกทั่วโลก เนื่องจาก บริษัทข้ามชาติที่ตั้งโรงงานในจีนประสบปัญหาส่งออกเพราะทั่วโลกไม่ยอมรับเรื่องคุณภาพสินค้าอาหาร จึงจำเป็นต้องอาศัยผลผลิตจากไทยในการสร้างความเชื่อมั่นแทน

ขณะเดียวกันกลางเดือน ส.ค. 52 นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม จะเปิดศูนย์กระจายสินค้าที่เมืองหลิงเซี๊ยะและเปิดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แห่งที่ 3 ที่เมืองกวางโจว ประเทศจีน ซึ่งการเปิดศูนย์กระจายสินค้าจะช่วยให้ไทยส่งออกไปจีนมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารฮาลาล เพราะเมืองหลิงเซี๊ยะมีประชากรที่เป็นมุสลิมถึง 2 ล้านคนรวมถึงช่วยกระจายอาหารฮาลาลไปทั่วประเทศจีนด้วย

ทั้งนี้นักธุรกิจจีนกับไทยจะร่วมลงทุนอาหารฮาลาลด้วยกันโดยไทยจะใช้ฐานการผลิตอาหารในจังหวัดปัตตานีและจีนจะใช้ฐานการผลิตในเมืองหลิงเซี๊ยะ เพื่อส่งออกทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มตะวันออกกลาง

“ปัจจุบันไทยส่งออกอาหารและนำเข้าอาหารจากจีนปีละ 5 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผัก ผลไม้ อาหารทะเล หากจีนเข้ามาลงทุนอาหารในไทยเพื่อส่งออกตลาดจีนรวมถึงการส่งเสริมอาหารฮาลาลร่วมกันภายใน 3 ปีข้างหน้าจะสามารถเพิ่มมูลค่าค้าขายอาหารร่วมกันถึง 1 แสนล้านบาทแน่นอน”

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า วันที่ 18-21 สค. 52 จะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และภาคเอกชน กว่า 50 ราย ร่วมเดินทางไปชักจูงการลงทุนเมืองกวางโจว ประเทศจีน พร้อมทั้งเปิดสำนักงานส่งเสริมการลงทุน ที่ กวางโจว โดยในงานจะจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและจีน เช่น อาหาร ข้าว ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น.

อิทธิพลของปัจจัยทางการเงิน ต่อวัฏจักรธุรกิจไทย

สิงหาคม 14, 2009

520814100859257หากย้อนกลับไปมองประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก จะพบว่าวิกฤตเศรษฐกิจส่วนใหญ่มักเกิดขึ้น ควบคู่กับความล้มเหลวในภาคการเงินราวกับเป็นฝาแฝดกัน

ไม่เพียงแต่วิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่วิกฤตเศรษฐกิจหลายครั้งในอดีตล้วนมีสาเหตุมาจากความสั่นคลอนในภาคการเงิน หรือในทางกลับกัน บ่อยครั้งที่ภาคการเงินต้องประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นกัน ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์เหล่านี้สะท้อนถึงผลกระทบของความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจจริงและภาคการเงิน

นอกจากนี้ การพึ่งพิงภาคการเงินดังกล่าวยังทำให้วิกฤตเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะรุนแรงและยืดเยื้อกว่าปกติ จากสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ตัวเร่งทางการเงิน” (Financial Accelerator) หรือมี “วงจรผลกระทบย้อนกลับ” (Adverse Feedback Loop) เกิดขึ้น

กล่าวคือ ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย รายได้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ลดลง ส่งผลให้ฐานะงบดุลปรับเลวลง ทำให้สถาบันการเงินจำเป็นต้อง เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น หรือเรียกร้องค่าชดเชยความเสี่ยง (Risk Premium) เพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้น ข้อจำกัดทางการเงินทั้งต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นและปริมาณสินเชื่อที่ตึงตัวขึ้นดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบย้อนกลับไปยังภาคเศรษฐกิจจริง โดยจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจอ่อนแอลง และทำให้ฐานะ การเงินของภาคครัวธุรกิจและครัวเรือนเลวลงไปอีก

ซึ่งความ สัมพันธ์ดังกล่าวไม่ได้บังเอิญเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจขาลงเท่านั้น แต่ในช่วงขาขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ร้อนแรงก็มักจะมาพร้อมกับภาวะการเงินที่ผ่อนคลายมากกว่าปกติหรือภาวะสินเชื่อ ที่เร่งตัวเช่นกัน

ดังนั้น ปัจจัยทางการเงินจึงมีบทบาทสำคัญต่อความผันผวนของ วัฏจักรธุรกิจอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นปัจจัยที่สร้าง (Generate) วัฏจักรธุรกิจ ส่งผ่าน (Propagate) และขยายผล (Amplify) การขึ้นลงของวัฏจักรธุรกิจให้รุนแรงและยาวนานขึ้น

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจจริงและภาคการเงินของไทย โดยจะวัดอิทธิพล ของตัวเร่งทางการเงิน (Financial Accelerator) ผ่านฐานะการ เงินของภาคธุรกิจและสถาบันการเงินว่า มีผลอย่างไรต่อวัฏจักรเศรษฐกิจ ทั้งจากการศึกษาเชิงประจักษ์และจากแบบจำลอง Dynamic Stochastic General Equilibrium (DSGE) ที่สามารถอธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของวงจรผลกระทบย้อนกลับได้

จากผลการศึกษาพบว่า
(1) เศรษฐกิจจริงของไทยพึ่งพิงภาค การเงินค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนของภาคธุรกิจ ส่วนการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินก็ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็ง ของฐานะเงินกองทุนของสถาบันการเงินและโอกาสผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจ

(2) ค่าชดเชยความเสี่ยง (External Finance Premium) ของภาคธุรกิจและสถาบันการเงินต่างมีความอ่อนไหวต่อฐานะ การเงิน (Net Worth) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยแม้ค่าชดเชย ความเสี่ยงของภาคธุรกิจโดยเฉลี่ยจะมีระดับที่สูงกว่าของสถาบันการเงิน แต่ค่าชดเชยความเสี่ยงของสถาบันการเงินกลับมีความอ่อนไหว ต่อฐานะการเงินมากกว่า และ

(3) จากแบบจำลอง DSGE ของเศรษฐกิจไทย ชี้ว่าตัวเร่งทางการเงินทำให้ความผันผวนของ วัฏจักรธุรกิจไทยมีมากขึ้น เมื่อเทียบกับกรณีที่สมมติให้ไม่มีตัวเร่งทางการเงิน โดยฐานะการเงินของภาคธุรกิจและสถาบันการเงินมีอิทธิพลต่อการส่งผ่านและขยายผลของ Shock แบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ

ภายใต้เศรษฐกิจที่มีความเชื่อมโยงกับภาคการเงินสูง การศึกษาทำความเข้าใจถึงผลกระทบของปัจจัยทางการเงินหรือฐานะงบดุลนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของช่องทาง การส่งผ่านนโยบายการเงินที่สำคัญแล้ว (ช่องทางสินเชื่อ) ยังมีผล ต่อความผันผวนของวัฏจักรธุรกิจของไทย โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจประสบภาวะวิกฤต ภาคธุรกิจและสถาบันการเงินมีความเสี่ยงสูงขึ้น ทางการควรเข้าไปตัดวงจรผลกระทบย้อนกลับให้มีน้อยที่สุด เช่น การค้ำประกันสินเชื่อ มาตรการกระตุ้นทางการคลัง เพื่อป้องกัน มิให้เศรษฐกิจตกอยู่ในวังวนของภาวะถดถอยอย่างรุนแรงและ ยาวนานเกินไป