19 กิจการมาบตาพุดมีลุ้นได้เฮ!

ธันวาคม 26, 2009

19 โครงการมาบตาพุด มูลค่า รวม 7.7 หมื่นล้านบาท ได้ลุ้น มีโอกาสขอยกเว้น การคุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากไม่ใช่ประเภทรุนแรง แต่อีก 8 โครงการหมื่นกว่าล้านส่อระงับถาวร

19 โครงการมาบตาพุด

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. ติดตามรายงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย  เพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง  ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานฯ แก้ไขปัญหาพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง

คณะกรรมการฯ ได้รายงานสถานะโครงการที่แท้จริง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยใน 65 โครงการแยกเป็น 23 โครงการที่ยังไม่ได้มีการดำเนินการก่อสร้างหรือขออนุญาตดำเนินการใดๆทั้ง สิ้น ดังนั้น ทั้ง 23 โครงการถือว่าอยู่ในขั้นตอน การขออนุญาตตามปกติ แต่อาจจะใช้เวลามากขึ้นตามมาตรฐานกฎหมายใหม่ ซึ่งต้องทำตามมาตรา 67 วรรคสอง  โครงการเหล่านี้จึงถือว่าได้รับผลกระทบ เล็กน้อยหรือไม่กระทบเลย

ขณะที่อีก 42 โครงการที่เหลือ มีการดำเนินการและเปิดประกอบกิจการแล้ว 11 โครงการ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 9 โครงการ และอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอีก 22 โครงการ ซึ่งหลังจากเอกชนไปดูคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดอนุญาต 11 โครงการให้ดำเนินการได้ และนำหลักเกณฑ์ไปเปรียบเทียบคิดว่าจะสามารถทำเรื่องขอเสนอข้อเท็จจริงไปยัง ศาลเพื่อขอให้ยกเลิกการระงับโครงการ โดยระบุว่าอยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกับ 11 โครงการได้  อีก 19 โครงการ เป็นโครงการที่ดำเนินการอยู่ 4 โครงการ ก่อสร้างเสร็จ 8 โครงการ  และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 7 โครงการ ซึ่งเอกชนจะนำเสนอ แต่ทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของศาล

ส่วนที่เหลืออีก 23 โครงการในกลุ่ม 42 โครงการ  ที่ยังได้ยื่นขอศาลในครั้งนี้ มี 15 โครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 1 โครงการที่ก่อสร้างเสร็จและ 7 โครงการที่ดำเนินการอยู่ เพราะยังมีรายละเอียดที่เข้าหลักเกณฑ์ไม่เพียงพอนั้น หาก 15 โครงการต้องการก่อสร้างต่อ และนำเสนอได้ว่า การก่อสร้างที่ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยยอมรับความเสี่ยงได้ว่า เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วจะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการหรือไม่ก็ได้ จะขอให้ศาลอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างต่อก็ทำได้ และในทุกกรณีโครงการเหล่านี้พร้อมที่จะทำตามกระบวนการของมาตรา 67 วรรคสอง  อย่างไรก็ตาม  คงเหลือเพียง 8 โครงการ  มูลค่าประมาณหมื่นกว่าล้านบาทที่ไม่เห็นว่ามีช่องทางที่จะไปดำเนินการให้ เข้าหลักเกณฑ์

ด้านนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังจากนี้เอกชนสามารถยื่นขอคุ้มครองจากศาลปกครองกลางเป็นรายๆ ไป โดย 19 โครงการดังกล่าวมีมูลค่ารวม 77,000 ล้านบาท  ที่มีโอกาสมากสุด โดยเหตุผลที่สำคัญคือ เป็นโครงการที่ไม่ใช่ประเภทรุนแรง เป็นโครงการที่ไม่มีการผลิต หรือเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งการดำเนินการเพื่อลดมลพิษ

ขณะเดียวกันนอกเหนือจาก 19 กิจการที่มีโอกาสขอยกเว้นการคุ้มครองชั่วคราวยังพบว่ามีอีก 15 กิจการ  มูลค่า 83,000 ล้านบาท  เป็นกิจการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่เข้าข่ายยื่นศาลได้ แต่ยังมีประเด็นที่ต้องหาเหตุผลเข้าไปเพิ่มเติม  ส่วนที่เหลืออีก 8 กิจการ  จาก 42  กิจการ  ยอมรับว่าค่อนข้างจะยื่นขอให้ศาลพิจารณาได้ยาก  เนื่องจากเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดน้อยมาก

“รัฐบาลจะจัดทำข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ เอกชนที่สามารถมาขอข้อมูลดังกล่าว เพื่อนำไปประกอบการยื่นคำขอต่อศาลให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ ส่วนการยื่นขอภาคเอกชน แต่ละกิจการต้องยื่นด้วยตนเอง โดยมูลค่ารวมของกิจการที่เข้าข่ายสามารถยื่นได้รวม 19 กิจการที่มีโอกาสค่อนข้างสูงและอีก 15 กิจการที่มีโอกาสลุ้น  รวมมูลค่าลงทุน 160,000 ล้านบาท หากได้รับการผ่อนผันให้สามารถเดินหน้าโครงการได้ ก็จะบรรเทาความเดือดร้อนของภาคเอกชนได้ระดับหนึ่ง”

ขณะที่หลักเกณฑ์การปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 67 วรรคสอง  ของรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้น ครม.ได้แจ้งว่าคณะกรรมการ 4 ฝ่าย  จะสรุปกรอบการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) และการรับฟังความเห็นต่อประชาชนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่ง ชาติในวันที่ 24 ธ.ค. และจะสามารถประกาศปรับปรุงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้ว  นำเสนอ ครม. วันที่ 29 ธ.ค.นี้  เพื่อให้มีกรอบการดำเนินการต่อไป

19 โครงการมาบตาพุด

สำหรับ 19 กิจการคือ
1. บริษัทอทิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
2. บริษัทพีทีที ฟีนอล จำกัด
3. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ไปยังบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด, บริษัทอะโรเมติกส์  จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทอุเบะ ไนล่อน (ประเทศไทย) จำกัด
5. บริษัทอทิตยาเบอร์ล่า เคมีคัลส์ จำกัด
6. บริษัท ปตท.เคมีคอล จำกัด (มหาชน)
7. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โครงการผลิตโพลิเอทิลีน
8. บริษัทบางกอกโพลีเอทีลีน จำกัด ขยายโรงงานผลิต BPEX
9. บริษัทบางกอกโพลีเอทาลีน จำกัด ขยายโรงงานผลิตพลาสติก BPEX
10. บริษัทไทยเอทานอลเอมีน
11. บริษัทไทยเอ็มเอ็มเอ จำกัด
12. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6
13. บริษัท ไทยโพลีเอททิลีน จำกัด โครงการผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอททีลีน
14. บริษัทกรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด 15. บริษัทไทยพลาสติก เคมีภัณฑ์
16. บริษัทสยามโพลีเอททิลีน จำกัด
17. บริษัทสยามเลเทกซ์สังเคราะห์
18. บริษัทไทยโพลีเอทาทิลีน
19. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ขยายกำลังผลิตเม็ดพลาสติกความหนาแน่นสูง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

โค้งสุดท้ายวางแผนภาษี

ธันวาคม 24, 2009

ใกล้ จะสิ้นปีแล้ว ปีหนึ่งๆ ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดิฉันวิเคราะห์เองว่า ในสมัยเราเป็นเด็ก แต่ละวันผ่านไปอย่างยาวนาน เพราะเรามีสิ่งใหม่ๆ ที่ต้องเรียนรู้มากมาย

เมื่อโตขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น เราก็ไม่ตื่นเต้นกับสิ่งที่เราเห็นหรือได้เรียนรู้มาแล้ว วันๆ หนึ่งจึงผ่านไปอย่างรวดเร็ว
การเปิดรับ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องการความก้าวหน้า ต้องการความมีชีวิตชีวาและกระฉับกระเฉงในชีวิต

ท่านจะสังเกตว่า ในวันที่เราเดินทางไปในสถานที่ใหม่ๆ พบผู้คนที่เรายังไม่เคยรู้จัก เราจะรู้สึกว่าวันนั้นจะยาว และเราได้ทำอะไรมากมาย ในแต่ละวัน  จริงๆ แล้วทุกชั่วโมงก็ยาวเท่ากัน ทุกวันก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่เวลาที่มีสิ่งใหม่ เวลาที่เราได้เรียนรู้ จะทำให้เรารู้สึกว่าช่วงเวลานั้นยาวนานขึ้น มีความหมายขึ้น

วันนี้อยากเตือนท่านให้วางแผนภาษีก่อนสิ้นปีภาษีค่ะ  เหลือเวลาอีกเพียง 2 สัปดาห์ ท่านต้องรีบดูแลแล้วค่ะ

อย่างแรกคือ การลงทุนเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ในยามเกษียณผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ซึ่งท่านจะได้สิทธินำเงินลงทุนไปหักออกจากรายได้พึงประเมินได้สูงสุดถึง 15% ของเงินรายได้ทุกประเภท แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท  RMF มีให้เลือกหลายนโยบาย ทั้งกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้และพันธบัตร กองทุนผสม กองทุนหุ้นทุน และกองทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศ

อย่างที่สองคือ กองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ลงทุนในหุ้นในระยะยาว ท่านก็สามารถนำไปหักออกจากรายได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีได้ ตั้งแต่ 3-15% ของรายได้ทุกประเภท  โดยปีไหนอยากลงทุนเท่าไรก็ได้ แต่เงินลงทุนแต่ละก้อนต้องลงทุนนานเกินกว่า 5 ปีปฏิทิน คือลงทุนในปี 2552 นี้ จะขายคืนได้ในปี 2556 ค่ะ  ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของรายได้เช่นกัน

อย่างที่สามคือ เบี้ยประกันชีวิตแบบออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ ที่กรมธรรม์มีระยะเวลาเอาประกันไม่น้อยกว่า 10 ปี มีการคืนเงินไม่เกิน 20% ของเบี้ยที่นำส่งไป  สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

อย่างที่สี่ คือดอกเบี้ย เงินกู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

อย่างที่ห้า เงินบริจาคต่างๆ สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย  และเงินบริจาคเพื่อการศึกษา สามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่า

อย่างที่หก คือ เงินหักลดหย่อนการเลี้ยงดูบุพการี หักได้ท่านละ 30,000 บาท  แต่ต้องให้แน่ใจว่า บุพการี มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีนะคะ  ถ้าเกินก็หักลดหย่อนไม่ได้ค่ะ ถือว่ามีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตขั้นต่ำแล้ว  ซึ่งดิฉันไม่เห็นว่าคนมีรายได้ 30,000 บาทต่อปี หรือเดือนละ 2,500 บาทต่อเดือนจะเพียงพอต่อการดำรงชีวิตขั้นต่ำตรงไหนเลย  โดยเฉพาะถ้าอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร

และอย่างสุดท้าย เงินหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือยังไม่มีรายได้

รายละเอียดดิฉันเขียนเอาไว้ ในนิตยสารแอลฉบับเดือนธันวาคม ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านได้ค่ะ

วันนี้อยากจะขอเน้นเรื่องการเลือกลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในปีนี้ เพราะมีผู้สอบถามเข้ามามาก

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ท่านไม่มีสิทธิเลือกว่าจะลงทุนในนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นนอกจาก หุ้น แต่ท่านยังเลือกได้ 2 อย่างคือ เลือก เลือกสัดส่วนการลงทุนในหุ้นทุน และเลือกนโยบายการจ่ายเงินปันผล

การเลือกสัดส่วนลงทุนในหุ้นนั้น ท่านเลือกได้ว่าจะลงทุนในหุ้นสูงสุดเพียงประมาณขั้นต่ำ หรือลงทุนแบบมีการทำป้องกันความเสี่ยงไว้บางส่วน หรือจะลงทุนปกติ คือมีหุ้นโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 65% ในรอบปีบัญชี

นอกจากนี้ ท่านยังสามารถเลือกนโยบายปันผล ได้ว่าจะรับหรือไม่รับเงินปันผล  ส่วนตัวดิฉันแนะนำให้เลือกกองทุนที่มีการจ่ายเงินปันผลค่ะ เพราะตลาดหุ้นไทยในปีหน้า ก็จะเหมือนตลาดหุ้นทั่วโลก คือจะผันผวน  การรับเงินปันผลจึงเป็นการลดความเสี่ยงด้วยการนำกำไรมาเก็บตุนไว้ก่อนบาง ส่วน แม้ว่าเงินปันผลจะจ่ายได้ไม่เกิน 30% ของกำไร และต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ก็ตาม  ดิฉันว่ายังคุ้มค่ะ

ส่วนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพนั้น ท่านสามารถเลือกได้หลายนโยบาย  ถ้าต้องการความเสี่ยงน้อย โดยคาดหวังผลตอบแทนต่ำ ให้เลือกกองทุนตลาดเงิน  หากรับความผันผวนของผลตอบแทนได้บ้าง ก็เลือกกองทุนพันธบัตร หรือกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนทั้งพันธบัตรและหุ้นกู้ภาคเอกชน

รับความผันผวนได้ปานกลาง และคาดหวังผลตอบแทนปานกลาง ให้เลือกลงทุนในกองทุนผสม ซึ่งจะมีการลงทุนทั้งหุ้นทุนและตราสารหนี้

รับความผันผวนหรือความเสี่ยงได้สูง และมุ่งหวังผลตอบแทนที่สูงกว่า ในระยะยาว ให้เลือกกองทุนหุ้นทุน
ผู้ ที่เลือกลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาวแล้ว และไม่อยากรับความเสี่ยงเพิ่มมากนัก ก็อาจจะลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพประเภทตลาดเงิน พันธบัตรหรือตราสารหนี้ หรือกองทุนผสม

ส่วนผู้ที่รับความเสี่ยงได้มาก อาจจะเป็นเพราะมีรายได้สูง ไม่มีภาระทางการเงิน หรือมีความมั่งคั่งโดยรวมสูงแล้ว สามารถเลือกกองทุนหุ้นทุนเพิ่มอีกได้ หรืออาจจะเลือกกองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศ หรือกองทุนที่ลงทุนในทองคำ หรือโภคภัณฑ์ได้

ทั้งนี้ควรจะมีการปรับเปลี่ยนการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ลงทุนด้วยค่ะ

อย่าลืมว่า การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถบ่งชี้ถึงผลตอบแทนในอนาคต  นอกจากนี้ ท่านควรศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

มองเทรนด์บริหารจัดการ 2010 ในมุมที่ปรึกษา

ธันวาคม 23, 2009

“อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา” ที่ปรึกษางานด้านการพัฒนาองค์ชี้ 5 เทรนด์บริหารจัดการ องค์กรในปี 2010

จากนี้จะมีศัพท์แสงแปลกใหม่ทางด้านการพัฒนาคนโดยอาศัยเทคโนโลยี นอกเหนือ E-Learning ที่คุ้นเคยแล้ว ก็คือ Webinar,Teleclass,podcast

ทิศทางการบริหารจัดการสำหรับปี ค.ศ. 2010 มีอยู่ 5 ข้อสำคัญที่องค์กรธุรกิจต้องพิจารณาจัดหากลยุทธ์มาตั้งรับ หรือเพื่อเดินเชิงรุก

นี่คือมุมมองของ อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด ซึ่งปัจจุบันเขายังเป็นที่ปรึกษางานด้านการพัฒนาองค์กร  (Organization Development) หรือ  ODให้กับองค์กรธุรกิจชั้นนำไทยหลายแห่ง

และในวินาทีก็คงไม่ต้องชี้แจงกันอีกต่อไปว่าทำไมองค์กรธุรกิจต้องตระหนักถึง เรื่องความเปลี่ยนแปลง  ด้วยมีบาดแผลจากความเสียหายจำนวนมากที่ยังทิ้งร่องรอยและยังไม่หายสนิท   ซึ่งเทรนด์ 5 ข้อดังกล่าวก็คือ

ข้อแรก  การโยกย้ายงาน จะมีมากขึ้น ดังนั้นเรื่องการบริหารพนักงานดาวเด่น (Talent Management) ในองค์กรจะมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการสรรหา พัฒนา และรักษาพนักงานเหล่านี้  นอกจากนั้นการสรรหาทายาท (Succession Planning) ก็จะเป็นอีกหนึ่ง โปรแกรมที่จะเป็นจุดสนใจของทุกๆ องค์กร

“ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจปี 2010 จะมีแนวโน้มดีขึ้น  เพราะมองเห็นว่ามีข่าวด้านบวกมากกว่าด้านลบทำให้ทุกธุรกิจจะกระเตื้องขึ้น พร้อมๆ กับแผนขยายตัว    ดังนั้นจำนวนพนักงานย่อมต้องมีเพิ่มขึ้นเช่นกัน เรียกว่าปีหน้าจะเป็นปีทองของบริษัทจัดหางาน ส่วนองค์กรก็ต้องคำนึงถึงเรื่อง Employee Engagement หรือ ความผูกพันของพนักงาน เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียพนักงานเก่งและดีไป”

ข้อที่สอง  สหภาพแรงงานจะมีความสำคัญและเข้มแข็งมากขึ้น สาเหตุมาจากในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีทำให้มีการเลิกจ้าง หรือปรับลดค่าจ้างและสวัสดิการ พนักงานค่อนข้างมาก จึงทำให้พนักงานรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองกับนายจ้าง และหลายๆ องค์กร การรวมกลุ่มดังกล่าวค่อนข้างได้ผลเลยทำให้พนักงานจำนวนมากเห็นประโยชน์ของ การมีสหภาพแรงงาน

อภิวุฒิบอกว่าแนวทางในการรับมือที่ดีที่สุดก็คือ ต้องสื่อสารให้มากขึ้น  สหภาพแรงงานส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเพราะพนักงานคิดว่าถ้าไม่รวมตัวกันก็หมายถึง ไม่มีอำนาจ  องค์กรจึงควรเปิดให้มีช่องทางในการสื่อสารใหม่ๆ หลายๆ ช่องทาง โดยเฉพาะช่องทางที่พนักงานสามารถสื่อสารถึงผู้บริหารระดับสูงได้โดยปลอดภัย

อีกปัจจัยหนึ่งที่เขาเชื่อว่าทำให้บรรยากาศผ่อนคลายได้ก็คือ ผู้บริหารควรต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติตัวเองเสียใหม่ โดยเปิดรับความคิดเห็นจากพนักงานข้างล่างให้มากยิ่งขึ้น ไม่แค่ใช้อำนาจเอาแต่ “สั่ง” เพียงอย่างเดียว
ข้อที่สาม ช่องว่างระหว่างวัยในองค์กรเพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดเป็นความขัดแย้ง เพราะในช่วงที่ผ่านมาพนักงานที่มีอายุมาก (Baby Boom  และGen X) ทยอยออกจากองค์กรไป และการรับพนักงานใหม่ถูกอั้นไว้เป็นเวลาพอสมควร เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น แนวโน้มการจ้างงานจะมีสูงขึ้น และพนักงานที่รับเข้ามาใหม่ มักเป็น Gen Y อายุยังน้อย

องค์กรจึงควรมีการส่งเสริมให้พนักงานรุ่นเก่า กับพนักงานรุ่นใหม่สามารถทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น เช่น  มีโครงการพี่เลี้ยง ให้คนรุ่นเก่านำทักษะและประสบการณ์สอนคนรุ่นใหม่  ซึ่งในทางกลับกันก็ควรมีโครงการ “พี่เลี้ยงกลับด้าน” (Reverted Mentoring) ซึ่งหมายถึงการให้คนรุ่นใหม่ชี้แนะในเรื่องที่คนรุ่นเก่าไม่ค่อยรู้เช่น เทคโนโลยี  เป็นต้น

นอกจากนั้นระบบการบริหารบุคลากร เช่น สวัสดิการ และผลประโยชน์ต่างๆ ก็ต้องออกแบบให้เหมาะกับพนักงานในแต่ละรุ่นด้วย เพราะความคาดหวังของ คนรุ่น Baby Boom&Gen X ย่อมแตกต่างจากคนรุ่น Gen Y อย่างแน่นอน

ข้อที่สี่  องค์กรให้ความสนใจในเรื่อง จริยธรรม จรรยาบรรณ การรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากระแสสังคมเริ่มพูดถึงความเก่ง และความดีของคนกันอย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มเหมือนว่าจะกลายเป็นวาระของชาติไปแล้วสำหรับการให้ความสำคัญกับ ความดี ความมีจรรยาบรรณ  และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ประเทศชาติ สิ่งแวดล้อม

ทั้งได้ยกตัวอย่าง มาบตาพุด ว่าน่าเป็นกรณีที่จุดชนวนความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมหาศาล และทำให้ทุกคนในองค์กรหันมาสนใจความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ CSR, Ethic, Code of  Conduct, Good Governance  มากขึ้น และร่วมไม้ร่วมมือกันทำอย่างจริงจัง

ข้อที่ห้า  องค์กรต้องเร่งฝีเท้าไล่กวดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะ 3G เรื่อง Web 2.0 หรือ แม้แต่กระแสของ Social Network  ดังนั้นการบริหารจัดการต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับแนวโน้มในข้อนี้ อาทิเช่น  การสรรหาพนักงานอาจต้องอาศัยช่องทางที่เป็น
Social  Networking,Facebook,Twitter และ  Linkedin  แทนที่ช่องทางเดิมๆ อย่างหนังสือพิมพ์ หรือเว็บไซต์หางานทั่วๆ ไป เป็นต้น

“ไม่เว้นในเรื่องการพัฒนาบุคคล ที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เดิมเราทำเรื่องนี้กันในห้องเรียนเท่านั้น แต่จากนี้จะมีศัพท์แสงแปลกใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนโดยอาศัย เทคโนโลยี  นอกเหนือจาก E-Learning ที่เราคุ้นเคยแล้ว Webinar,Teleclass,podcast ก็กำลังจะกลายเป็นคำที่คุ้นชินในเร็ววันนี้”

อภิวุฒิยังบอกด้วยว่า เมื่อเร็วๆ นี้เขามีโอกาสอ่านบทความในนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่งซึ่งสัมภาษณ์เด็กวัย รุ่นชาวอเมริกัน และพบว่ามีข้อความหนึ่งที่สะดุดตาสะดุดใจเป็นอันมาก เพราะคำกล่าวของวัยรุ่นอเมริกันที่ว่า คนรุ่นเก่า (ในสายตาของพวกเขา) นั้นยังคงใช้ Email ในการสื่อสาร แต่สำหรับพวกเขาจะสื่อสารกันทางเอ็ม (MSN) และ Short Message  (ทั้งๆ ที่คนไทยเพิ่งจะใช้ Email ได้คล่องกันเมื่อไม่นานมานี่เอง)

ซึ่งเป็นหน้าที่องค์กรที่จะต้องฝึกฝีเท้า (อย่างหนักหน่วง) เพื่อไล่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่วันนี้อาจจะไวกว่าแสงไปแล้ว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจ 53 เหตุปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า วิกฤติมาบตาพุด-หนี้สินดูไบ-ญวนลดค่าเงิน

ธันวาคม 21, 2009

คณะ เศรษฐศาสตร์ และ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาิวิทยาลัยรังสิต ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2553 เดิม 2-3% ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.2 – 2.2% จากปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า

ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมผ่านทางการชะลอตัวของภาคลง ทุน การจ้างงาน ภาคการค้าระหว่างประเทศและภาคการผลิต ผลกระทบจากวิกฤติมาบตาพุดส่งผลรุนแรงที่สุดต่อการลงทุนและการผลิตในภาค อุตสาหกรรม รวมทั้งการจ้างงาน ประเมินเบื้องต้นมีผลกระทบอย่างน้อย 6 ด้าน

กรณีที่สถานการณ์ยืดเยื้อจะทำให้การจ้างงานโดยตรงและโดยอ้อมลดลงไม่ต่ำกว่า 200,000 คน ขั้นต้นจะว่างงานทันทีประมาณ 40,000-60,000 คน โดยจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์ถึง 2,000 ล้านดอลลาร์จากการชะลอตัวของการนำเข้าเพื่อการผลิต สร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อประสานเข้ากับการลดค่าเงินของบางประเทศในเอเชียจะทำให้ภาคส่งออกได้รับ ผลกระทบค่อนข้างรุนแรง

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ทางคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตและศูนย์วิจัยเศรษฐกิจร์และธุรกิจเพื่อการปฏิรูป ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2553 เดิม 2-3% ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.2 – 2.2% จากปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมผ่านทางการชะลอตัวของภาคลง ทุน การจ้างงาน ภาคการค้าระหว่างประเทศและภาคการผลิต

สามปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ วิกฤติมาบตาพุด วิกฤติหนี้สินดูไบและการลดค่าเงินจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลง 0.8% (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากตารางด้านล่าง) มูลค่าเสียหายเบื้องต้นประมาณ 71,959 ล้านบาท ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบต่อเนื่องได้อย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับว่า กรณีมาบตาพุดมีความยืดเยื้อหรือแค่ไหน วิธีการแก้ปัญหาจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุน ต่างชาติอย่างมีนัยยสำคัญ

ปัจจัยเสี่ยง ความเสียหายคิดเป็น % Growth ของ GDP ปี 53 มูลค่าความเสียหาย
เบื้องต้น (ล้านบาท)
GDP Growth

ปี 2553

วิกฤติหนี้สินดูไบ+ เวียดนามลดค่าเงิน + การขยายตัวเศรษฐกิจต่ำกว่าคาดการณ์ 0.3 26,985 1.7 – 2.7%
วิกฤติมาบตาพุด 0.5 44,975 1.5 – 2.5%
ผลรวม 0.8 71,959 1.2 – 2.2%

ประเมินผลกระทบเกิดขึ้นอย่างน้อย 6 ด้าน จากกรณีวิกฤติมาบตาพุด เริ่มตั้งแต่
1 ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักธุรกิจอุตสาหกรรมต่อระบบการลงทุนในอุตสาหกรรมหนักของไทย
2 ผลกระทบด้านภาคการผลิตและอุปทานเกิดการขาดแคลนและชะงักงันในการผลิตสินค้า บางประเภท เช่น ก๊าซ LPG วัตถุดิบในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำ เป็นต้น
3 ผลกระทบด้านอุปสงค์ผ่านทางการลงทุน การส่งออก การจ้างงาน และการบริโภค
4 ผลกระทบต่องบประมาณของรัฐบาลและการจัดเก็บรายได้
5 ผลกระทบต่อชุมชนสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออก
6 ผลกระทบต่อสถาบันการเงินและตลาดทุน (บริษัทจดทะเบียนที่ถูกระงับโครงการ)

ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า ผลกระทบจากวิกฤติมาบตาพุดส่งผลรุนแรงที่สุดต่อการลงทุนและการผลิตในภาค อุตสาหกรรม รวมทั้งการจ้างงาน กรณีที่สถานการณ์ยืดเยื้อจะทำให้การจ้างงานโดยตรงและโดยอ้อมลดลงไม่ต่ำกว่า 200,000 คน ขั้นต้นจะว่างงานทันทีประมาณ 40,000-60,000 คน โดยจะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์ถึง 2,000 ล้านดอลลาร์จากการชะลอตัวของการนำเข้าเพื่อการผลิต สร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อประสานเข้ากับการลดค่าเงินของบางประเทศในเอเชียจะทำให้ภาคส่งออกได้รับ ผลกระทบค่อนข้างรุนแรง

ขณะที่วิกฤติการณ์หนี้สินดูไบบรรเทาลงจากการเข้ามาช่วยเหลือของรัฐบาลกลาง สหรัฐอาหรับเอมิเรต ผลกระทบของวิกฤตการณ์หนี้สินของ Dubai ผ่านภาคการเงินโดยตรง (Financial Impacts) ต่อไทยอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากสถาบันการเงินไทยส่วนใหญ่ไม่มี Exposure กับกลุ่ม Dubai World และมีการลงทุนในตะวันออกกลางน้อยมาก นอกจากนี้ ฐานะการเงินของสถาบันการเงินไทยยังเข้มแข็ง อย่างไรก็ตามตลาดทุนตลาดเงินไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากความผันผวนของ ตลาดเงินตลาดทุนบ้าง ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector Impacts) ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวก็อยู่ในวงจำกัด เช่นกัน เพราะการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยและรัฐดูไบคิดเป็นสัดส่วนที่น้อย

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางอ้อมจะมีต่อภาคส่งออกค่อนข้างมาก เนื่องจาก วิกฤติหนี้สินดูไบส่งผลกระทบต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจในประเทศยุโรปบาง ประเทศและญี่ปุ่นที่เป็นตลาดหลักของสินค้าส่งออกไทย

ดร. อนุสรณ์ เตือนให้ภาครัฐและเอกชนดูแลกิจการที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยมี 10 ประเภทกิจการที่ต้องดูแลเป็นพิเศษและควรมีมาตรการป้องกันและผลศึกษาอย่าง ชัดเจนก่อนดำเนินโครงการเพื่อไม่ให้เกิดปํญหาเช่นเดียวกับ 65 โครงการในมาบตาพุด และ 10 ประเภทกิจการอาจเป็นเป้าหมายของการถูกฟ้องร้องให้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสองได้ ดูรายละเอียด 10 ประเภทกิจการจากตารางด้านล่าง

10 ประเภทกิจการกระทบชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ต้องมีมาตรการป้องกันและศึกษาผลกระทบก่อน

ลำดับ ร่างประเภทโครงการ เหตุผล
1 การถมทะเล หรือทะเลสาบ นอกเขตชายฝั่งเดิม

ไม่รวมการฟื้นฟูสภาพชายหาด

อยู่ในพื้นที่อ่อนไหวต่อสิ่งแวดล้อม
2 เหมืองแร่โลหะทุกชนิด การใช้ประโยชน์ที่ดิน น้ำใต้ดิน การระบายน้ำ การแร่ ฝุ่นละออง
3 นิคมอุตสาหกรรมสำหรับอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ โลหะหนัก
4 โรงงานปิโตรเคมี เฉพาะชั้นต้นหรือชั้นกลาง คุณภาพอากาศ

คุณภาพน้ำ

โลหะหนัก

5 โรงงานถลุงหรือหลอมโลหะ รวมเหล็กหรือเหล็กกล้า คุณภาพอากาศ – น้ำ

โลหะหนัก

6 การผลิตหรือกำจัดหรือปรับแต่งสารกัมมันตรังสี กากกัมมันตรังสี

การขนส่ง เสี่ยงอุบัติเหตุ

7 โรงไฟฟ้าทุกประเภท ขนาดกำลังผลิต 1000 เมกะวัตต์ขึ้นไป คุณภาพอากาศ น้ำ เสี่ยงอุบัติเหตุ
8 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกขนาด กากนิวเคลียร์
9 การทำเกษตรกรรมเชิงการค้าเกี่ยวกับวัตถุดิบการผลิตอาหารที่เกี่ยวข้องกับ GM (Genetically Modified) GM หรือตัดแปลงพันธุกรรม โดยใช้เทคนิคการตัดต่อยีนทางพันธุวิศวกรรม กระทบสิ่งแวดล้อม ดินน้ำ และอาจกระทบสุขภาพอนามัย
10 สนามกอล์ฟ ตั้งแต่ 18 หลุมมาตรฐานขึ้นไป การใช้น้ำจำนวนมาก การตกค้างสารเคมีและเพิ่มภาวะโลกร้อน

ปัจจัยเรื่องวิกฤติหนี้สินดูไบ และการลดค่าเงินของเวียตนามแม้นจะเป็นสภาวะแวดล้อมที่รัฐบาลไม่อาจควบคุมได้ แต่ภาครัฐและภาคเอกชนสามารถมีมาตรการรองรับผลกระทบได้ ขณะที่กรณีมาบตาพุดรัฐบาลต้องทำให้เกิดความชัดเจนและความรวดเร็วในกระบวนการ ปลดการระงับโครงการ 65 โครงการโดยให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2

นอกจากนี้ ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและธุรกิจเพื่อการปฎิรูป มหาวิทยาลัยรังสิต ยังเสนอแนะอีกว่ารัฐบาลและภาคเอกชนควรทำงานในเชิงรุก โดยการสำรวจโครงการอุตสาหกรรมหนักทั้งหลายในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ หากยังไม่มีการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพและชุมชนให้รีบดำเนินการโดยด่วน

สำหรับมาตรการเฉพาะหน้าในการรับมือกับผลกระทบกรณีมาบตาพุดควรมุ่งดูแลผล กระทบต่อผู้ที่จะถูกเลิกจ้างทันที 40,000 – 60,000 คน และผลกระทบต่อเนื่องจากการว่างงานดังกล่าว โดยใช้เม็ดเงินจากโครงการไทยเข้มแข็งระยะที่สอง อีกเรื่องหนึ่งคือผลกระทบลูกโซ่ที่มีต่ออุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำที่ต้อง มีมาตรการรองรับเพื่อแก้ปัญหาให้ดี

ดร.อนุสรณ์ เสนอว่ารัฐบาลควรอัดฉีดงบประมาณการใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปแม้นปีหน้าอัตราเงิน เฟ้อปรับตัวสูงขึ้น แต่เป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากแรงกดดันทางด้านตันทุนและ Supply Shocks มากกว่า ทางด้านอุปสงค์ รวมทั้งควรมีการบริหารจัดการให้เงินบาทอ่อนค่าเพื่อประคองการส่งออกที่ได้ รับผลกระทบจากการที่หลายประเทศรวมทั้งเวียดนามทยอยลดค่าเงิน

ดร.อนุสรณ์ ได้เสนอทางออกของปัญหาวิกฤติมาบตาพุดว่า รัฐบาลควรจะจัดสรรเวลาในการศึกษาความเสียหายอย่างรอบด้าน จากการระงับการก่อสร้าง 65 โครงการและการก่อมลพิษของโรงงานเดิม ที่กำลังเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน โดยไม่นั่งรอรายงานจากหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง สถานการณการระงับการก่อสร้าง 65 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ควรจะถือเป็น “วิกฤติของชาติ” ที่รัฐบาลไม่ควรปล่อยให้กลไกของหน่วยงานราชการแก้ไขไปอย่างไม่มีเป้าหมายว่า จะหาทางออกได้เมื่อไรและอย่างไร กฏกติกาที่เข้มงวดมากขึ้นทางด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชนเป็นเรื่องที่ดี ต่อประเทศในระยะยาวแต่ในระหว่างรอยต่อของการบังคับใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญหาก ไม่จัดการให้ดีจะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างรุนแรงทั้งในระยะสั้น และระยะกลาง และอาจลามถึง ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อระบบของประเทศไทยในระยะยาวได้หากไม่เร่งแก้ ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

แม้กระทั่งการแต่งตั้งอดีตนายกฯ อานันท์ ให้เป็นประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ก็ไม่ควรจะถือเป็นข้อแก้ตัวให้รอผลการประชุมของคณะกรรมกการ รัฐบาลต้องหาทางแก้ไขวิกฤติให้บรรเทาชั่วคราว อาทิเช่น การออกพระราชกำหนดแต่งตั้งองค์กรอิสระทางด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ฯลฯ เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาก่อน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

อสังหาฯหวั่น”หลุมดำ”ฉุดตลาดปีเสือ รายกลาง-เล็กเจอตอถูกกั๊กสินเชื่อ บิ๊กแบรนด์ชี้ตลาดยังไม่ฟื้นตัว!

ธันวาคม 20, 2009

อสัง หาฯปีเสือระวังภาพลวงตา บิ๊กแบรนด์ “แลนด์-เอเชี่ยน-แอล.พี.เอ็น.” ดาหน้าฟันธงตลาดไม่ได้ฟื้นตัวอย่างที่คิด ผู้ประกอบการรายกลาง-รายเล็กเจอทางตันแบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อ

อสังหาฯปีเสือ

เปิดตัวเลขสถิติลอนช์โครงการใหม่ 5 ปีย้อนหลัง ตลาดรวมติดลบทุกโปรดักต์ทั้งบ้านเดี่ยว-ทาวน์เฮาส์-คอนโดฯ ตั้งแต่ 20-46% โบรกเกอร์แบข้อมูลหน้าใหม่-มือสมัครเล่นแห่ตุนแลนด์แบงก์หวังชิงเค้ก ด้าน ธอส.ให้ความหวังอัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรกปีหน้ายังไม่ขึ้นแน่นอน

คลังอุบไต๋ต่อ-ไม่ต่อมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ
นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ ที่ปรึกษา รมช.กระทรวงการคลัง กล่าวในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “อสังหาริมทรัพย์ฟื้นแล้วจริงหรือ” จัดโดย “พร็อพเพอร์ตี้ แชนเนล” คลื่นข่าวอสังหาฯ-คมนาคม 102 เมกะเฮิรตซ์ ร่วมกับ “โฮมไบเออร์ไกด์” เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์ระลอกใหม่ ขณะนี้ตัวแทนผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ได้มีการหยิบยกเรื่องการ ต่อหรือไม่ต่ออายุมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาฯ ขึ้นหารือกับทางกระทรวงการคลัง ดังนั้นจึงให้คำตอบไม่ได้ว่าจะมีการต่ออายุมาตรการหรือไม่ อย่างไรก็ตามความเห็นส่วนตัวคือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เมื่อได้จัดทำและประเมินแล้วว่ามีผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ในเชิงนโยบายรัฐบาลควรจะต้องจัดทำต่อไปเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

ประเด็นของกระทรวงการคลังคือการดูแลปัญหาฟองสบู่จากภาคอสังหาฯ อย่างไรก็ตามประเมินแล้ว ปีหน้าไม่น่าจะเกิดฟองสบู่เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบหลัก 3 ปัจจัย คือ 1.ผู้ประกอบการมีบทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้มีการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก 2.สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อโครงการและสินเชื่อรายย่อย และ 3.ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับราคาตามธรรมชาติเพียง 2-3% ซึ่งไม่ใช่แรงจูงใจทำให้เกิดการเก็งกำไร

“เรามีตัวเลขชี้นำว่าภาคอสังหาฯฟื้นตัวแล้วจากตัวเลขการโอน ภาคการก่อสร้าง สินเชื่อที่อยู่อาศัย ตัวเลขยอดขายวัสดุก่อสร้าง ยืนยันทิศทางการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยมาตรการกระตุ้นของภาครัฐเป็นเพียงหนึ่งในองค์ประกอบที่ทำให้มีการฟื้นตัว เพราะยังมีประเด็นสำคัญในเรื่องความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ความร่วมมือในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทิศทางปีหน้าคาดว่าจีดีพีจะเป็นบวกร้อยละ 2.5-3.5 โดยภาคอสังหาฯเป็นกำลังสำคัญที่จะผลักดันให้ภาพรวมฟื้นตัว เพราะเป็นภาคธุรกิจที่มีการจ้างงานอันดับ 3 ประมาณ 3 ล้านคน มีตัวเลขสินเชื่อ 1.5 ล้านล้านบาท จากภาพรวมสินเชื่อประมาณ 7 ล้านล้านบาท” นายสมชายกล่าว

AP เปิดตัวเลขตลาดรวมไม่โตอย่างที่คิด
นายวิษณุ สุชาติล้ำพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ หรือ AP กล่าวว่า ภาพรวมตลาดอสังหาฯย้อนหลัง 5 ปี ตลาดรวมไม่ได้โตขึ้น แต่ผลประกอบการจะกระจุกตัวอยู่กับผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนรายกลาง-รายเล็กยังมีส่วนแบ่งน้อยมาก โดยสถิติย้อนหลัง 5 ปี (2548-2552) มีโครงการเปิดใหม่ แยกเป็นประเภทบ้านเดี่ยวติดลบเฉลี่ย 20% ต่อปี ทาวน์เฮาส์ก็ลดลง ส่วนคอนโดฯยังติดลบ 30% ขณะที่ตัวเลขโครงการเปิดใหม่ 9 เดือนแรกปีนี้ติดลบ 46% เพราะฉะนั้นแนวโน้มปีหน้ายังเป็นโอกาสของบริษัทใหญ่เหมือนปีนี้

“เอพีเปิดตัวดิแอดเดรส 3 โครงการ เมื่อปี 2551 มูลค่ารวมกันประมาณ 9 พันล้านบาท มียอดขายกว่า 7 พันล้านบาทภายใน 1 เดือน ภาพที่ขายดีในขณะนั้นเพราะเป็นช่วงที่มีการเปิดตัวโครงการไม่เยอะ โดยภาพรวมจะเป็นการเปิดตัวของรายใหญ่และรายเล็ก แต่รายกลางไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่เลย”

สำหรับแนวโน้มตลาดคอนโดฯปีหน้าจากฐานข้อมูลประชากรศาสตร์พบว่า ครึ่งหนึ่งของกลุ่มเป้าหมายจะมีสองกลุ่มหลัก คือ อายุ 15-24 ปี สัดส่วน 23% และอายุ 15-44 ปี สัดส่วน 24% ของตลาดรวม โดยเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ การศึกษาดี แต่งงานช้าลง ครอบครัวเล็กลง ไลฟ์สไตล์อยากใช้ชีวิตอิสระ ทำให้โปรดักต์คอนโดฯตอบโจทย์ได้ แต่ต้องขึ้นกับองค์ประกอบด้านทำเล โปรดักต์ และตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

นายวิษณุมองต่างมุมด้วยว่า รัฐบาลคาดการณ์จีดีพีปีหน้าโต 3% ถึงแม้จะเป็นไปได้จริง แต่ก็ถือว่าโตจากฐานที่ต่ำ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภายในและภายนอก คือ การเมืองภายใน ปัญหามาบตาพุด ม็อบกีฬาสี ส่วนปัจจัยภายนอกมีปัญหาดูไบเวิลด์ ปัญหาเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ฯลฯ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยตรง

“ไม่ต้องห่วง ถึงแม้จะมีปัญหาต่าง ๆ แต่หนี้สินต่อทุนของผู้ประกอบการรายใหญ่ประมาณอยู่ที่ร้อยละ 1 นั่นคืออาจจะแข่งขันรุนแรง อาจจะขายไม่ได้ตามเป้าแต่ก็อยู่ได้ กรอสมาร์จิ้นลดลงแต่ยังอยู่ได้”

LPN ชี้คอนโดฯขายดีแต่เสี่ยงสูง
สอดคล้องกับนายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ หรือ LPN มองตลาดคอนโดฯปีหน้าจะดีกว่าปีนี้ที่ถือว่าเงียบเหงาไปหน่อย ประเมินจากตัวเลขอัตราว่างงานต่ำกว่า 2 ล้านบาท คืออยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจปกติ อย่างไรก็ตามท่ามกลางโอกาสยังมีอันตรายเพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายตัวเป็น องค์ประกอบ โดยเฉพาะปัจจัยการเมือง

ภาพที่เห็นคือช่วงครึ่งปีหลัง ยอดขายโครงการคอนโดฯขายดี ทำให้แนวโน้มปีหน้ามีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ อยากขอแบ่งเค้กด้วย และจะทำให้ภาวะตลาดคอนโดฯคึกคักมากขึ้น บทเรียนของ แอล.พี.เอ็น.ฯเมื่อวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 สร้างช้าเพียง 2 เดือน ทำให้ปิดการขายไม่ได้ ดังนั้นกลยุทธ์ที่ทำคือ “สปีด” โดยเฉพาะด้านก่อสร้างจะเร่งให้เร็วขึ้น โนว์ฮาวของบริษัทคือตึกสูงสามารถสร้างเสร็จภายใน 12 เดือน จากเดิม 18-24 เดือน ที่สำคัญผู้ประกอบการต้องโฟกัสไปที่เรียลดีมานด์ กลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง และราคาที่แข่งขันได้

บิ๊กแบรนด์กินรวบ-รายเล็กหมดสิทธิ์เกิด
ขณะที่นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่า อสังหาฯขณะนี้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และยังมีปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายกลาง รายเล็กเวลานี้เหนื่อยมากขึ้นเพราะต้องแข่งกับรายใหญ่ ปีหน้าผู้ประกอบการรายกลาง รายเล็กยิ่งอยู่ลำบาก เพราะมีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เห็นได้จากปัจจุบันสถาบันการเงินปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการที่ติดอันดับ ท็อปเทนในตลาดเป็นหลัก เห็นได้จากหลาย ๆ บริษัทเริ่มนำเงินไปซื้อที่ดินเก็บไว้ในมือ ส่วนรายย่อยแหล่งเงินทุนยังเป็นปัญหาหลัก

หน้าใหม่แห่ลงทุนคอนโดฯ
ด้านนายกิติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เซ็นจูรี่ 21 เรียลตี้ แอฟฟิเอทส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาอสังหาฯครบวงจร กล่าวว่า สิ่งที่บ่งบอกว่าอสังหาฯในปีหน้ายังเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน เป็นเพราะในรอบปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามาในธุรกิจนี้เพิ่ม ขึ้น อาทิ ธุรกิจสิ่งทอ, น้ำมันพืช ฯลฯ สนใจติดต่อซื้อที่ดินผ่านบริษัทเพื่อลงทุนพัฒนาคอนโดฯกลางเมือง เพราะตลาดคอนโดฯยังได้รับการตอบรับดี โดยทำเลสุขุมวิทยังเป็นทำเลยอดนิยม และทำเลห่างสถานีรถไฟฟ้า 700-800 เมตร ก็ยังขายได้

จากข้อมูลพบว่ามีทำเลรถไฟฟ้า 4 เส้นทางที่น่าสนใจ คือ 1.ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าอ่อนนุช-แบริ่ง 2.ส่วนต่อขยายสาทร-วงเวียนใหญ่ 3.แนวรถไฟฟ้าใต้ดิน รัชดาฯ-ลาดพร้าว และ 4.แนวเส้นทางแอร์พอร์ตลิงก์ รวมทั้งทำเลพหลโยธินและซอยอารีย์ เปรียบเสมือนเป็นทองหล่อ 2 เมื่อเร็ว ๆ นี้มีดีเวลอปเปอร์ติดต่อเข้ามาเพื่อซื้อที่ดินในราคา ตร.ม.ละ 5 แสนบาท จะเปิดตัวโครงการเร็ว ๆ นี้

ดบ.ยังทรงตัว-ไม่โอเวอร์ซัพพลาย
ส่วนขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า คาดการณ์ว่าปริมาณที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในปีนี้จะอยู่ในระดับใกล้ เคียงกับปีที่ผ่านมา คือกว่า 8 หมื่นยูนิต โดยคอนโดฯมีส่วนแบ่งตลาด 51% สถานการณ์ ณ วันนี้ยังไม่ถือว่าเข้าขั้นโอเวอร์ซัพพลาย และราคาขายก็ยังไม่ได้สูงมากนัก จากข้อมูลพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ มีค่าเท่ากับ 58 และได้สำรวจความคาดหวังช่วง 6 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ 69 ดังนั้นเชื่อว่าอสังหาฯในปีหน้าจะมีแนวโน้มดีขึ้น

ขณะที่เศรษฐกิจก็มีโอกาสจะฟื้นตัว ส่วนอัตราดอกเบี้ยช่วง 6 เดือนแรกปี 2553 คงยังไม่ปรับขึ้น แต่อาจปรับขึ้นเล็กน้อยช่วง 6 เดือนหลัง โดยสถิติการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ 2.2 แสนล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะอยู่ที่ 2.8-3 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่การปล่อยสินเชื่อทั้งระบบอยู่ที่ 2.6 แสนล้านบาท ปีหน้า ธอส.ยังคงปล่อยสินเชื่อกลุ่มบ้านเอื้ออาทร บ้านมั่นคง โครงการ ธอส.-กบข. และกองทุนประกันสังคมจะโยกเงินมาให้ 1 หมื่นล้านบาท โดย ธอส.จะปล่อยสินเชื่อให้สมาชิกกองทุน อัตราดอกเบี้ย 2.5% คงที่ 5 ปี

ลุ้นต่ออายุมาตรการกระตุ้น
ด้านความเคลื่อนไหวของ 3 สมาคมอสังหาฯ นายกิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า 3 สมาคมอสังหาฯมองว่าที่ผ่านมามาตรการกระตุ้นโดยการลดหย่อนภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าจดจำนอง ช่วยกระตุ้นตลาดบ้านได้อย่างมาก จึงอยากให้ภาครัฐต่ออายุมาตรการดังกล่าวต่อไปอีกปีหนึ่ง โดยเฉพาะการให้นำค่าซื้อบ้านไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 3 แสนบาท ซึ่งจะสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคมนี้ จูงใจลูกค้าให้ซื้อบ้านในช่วงนี้ได้ไม่ต่ำกว่า 50% ขณะที่การลดค่าโอน ค่าจดจำนอง และภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่จะสิ้นสุดวันที่ 28 มีนาคม 2553 รัฐก็ควรจะประกาศให้ชัดเจนว่าจะต่ออายุต่อไปอีกปีหรือไม่

ดูรายละเอียดเพิ่มเตืมได้ที่ www.ksmecare.com

รู้ทัน…ปั่นหุ้น

ธันวาคม 19, 2009

ใน ช่วงที่ผ่านมา หลายๆ ท่านคงได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับการ “ปั่นหุ้น” หรือ “ทุบหุ้น” กันมาพอสมควร ซึ่งข่าวคราวเกี่ยวกับการกระทำในลักษณะนี้

รู้ทัน...ปั่นหุ้น

อาจบั่นทอนกำลังใจของ ผู้ลงทุนทั้งมือใหม่ มือเก่าในการลงทุนในตลาดหุ้น วันนี้ดิฉันจึงขอหยิบยกเรื่อง “ปั่นหุ้น” มาพูดคุยกัน พร้อมทั้งคำแนะนำที่อาจใช้เป็นแนวทางในการระมัดระวังตนเองไม่ให้ตกเป็น เหยื่อของพฤติกรรมปั่นหุ้นและสามารถปกป้องประโยชน์ของตนเองได้ค่ะ ปั่นหุ้น…คืออะไร?

ในช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นหรือลดต่ำลงอย่างมากและหวือหวา หลายๆ ท่านมักเกิดความรู้สึกว่าน่าจะมีการปั่นหุ้นหรือทุบหุ้นเกิดขึ้นแล้ว และทางการควรจะต้องเข้ามาดำเนินการสกัดกั้นพฤติกรรมดังกล่าว หรือหาตัว ผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ว่าการปรับตัวขึ้นลงของราคาหุ้นมากๆ จะเป็นการปั่นเสมอไป อาจเป็นเพียงการซื้อขายหุ้นโดยปกติและราคาก็เป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากราคาหุ้นมักจะมีความอ่อนไหวและผันผวนขึ้นลงตามปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามากระทบอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว

ตัวอย่างกรณีที่ไม่ใช่ปั่นหุ้น เช่น ผู้ลงทุนวิเคราะห์แล้วเห็นว่าหุ้นตัวนั้นน่าสนใจ มีปัจจัยพื้นฐานดี แถมยังมีแนวโน้มจะมีผลประกอบการดีในอนาคตด้วย เนื่องจากมีการขยายกิจการหรือไปร่วมทุนกับบริษัทอื่น ประกอบกับในขณะนั้นมีข่าวดีเข้ามารองรับ เช่น รัฐบาลประกาศมาตรการสนับสนุนธุรกิจของบริษัทนั้นๆ ก็อาจมีผู้ลงทุนเป็นจำนวนมาก ที่เล็งเห็นแนวโน้มที่เป็นบวกของหุ้นนั้นและเห็นว่าราคาตลาดของหุ้นใน ปัจจุบันยังเป็นราคาที่เหมาะสม จึงเข้ามาทำการซื้อหุ้นนั้น ส่งผลให้ราคาและปริมาณการซื้อขายพุ่งสูงขึ้นไป ซึ่งปัจจัย (พื้นฐานบริษัทและข่าวดี) ที่เข้ามากระทบราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่อธิบายได้ จึงเป็นไปตามสภาพปกติของตลาดที่ขึ้นอยู่กับกลไกตลาดในเรื่องอุปสงค์อุปทาน ส่วนการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของราคาหุ้นนั้นจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมในขณะนั้น

ผิดกับการปั่นหุ้นที่เป็นความตั้งใจที่จะทำให้สภาพการซื้อขายหุ้นทั้งราคา และปริมาณผิดไปจากสภาพปกติ ไม่เป็นไปตามกลไกของตลาด ด้วยวิธีเช่น ทำให้ราคาหุ้นเกิดความ ผิดปกติโดย ไม่มีเหตุผลอันสมควรมารองรับ เช่น ซื้อขายเพื่อผลักดันราคาหุ้นให้ดูเหมือนว่ามีความต้องการซื้อมากขึ้น (เรียกว่า “ปั่น”) บางกรณีก็ซื้อขายเพื่อทำให้ราคาตลาดไม่เปลี่ยนแปลง/อยู่กับที่ (เรียกว่า “พยุง”) หรือพยายามกดราคาหุ้นให้ต่ำลงไปเพื่อที่จะเข้าไปช้อนซื้อในภายหลัง (เรียกว่า “ทุบ”) หรืออีกวิธีเป็นการทำให้ปริมาณหุ้นเกิดความผิดปกติ เช่น เข้าไปซื้อๆ ขายๆ เพื่อให้ดูเหมือนว่าหุ้นตัวนั้นมีคนต้องการซื้อมาก ทำให้มีคนเข้าไปซื้อตาม (เพราะเห็นว่ามีความต้องการซื้อขายหุ้นนั้นมาก) นอกจากนี้ ยังมีวิธีการปั่นหุ้นด้วยการทำให้ข้อมูลของบริษัทผิดไปจาก ข้อเท็จจริง เช่น การปล่อยข่าวดีๆ ของบริษัทออกมาโดยที่ไม่ได้เป็นไปตามนั้นจริงๆ เช่น มีบริษัทต่างประเทศจะเข้ามาเทกโอเวอร์กิจการ หรือการตกแต่งให้งบการเงินของบริษัทดูดีเกินจริง เป็นต้น

ปั่นหุ้นต่างจากเก็งกำไรอย่างไร?

การที่จะบอกว่าพฤติกรรมใดเป็นการ ปั่นหุ้นได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบทางกฎหมายที่ชัดเจน คือต้องมีทั้งเจตนาที่จะเข้าไปปั่นหุ้นและพฤติกรรมที่ ทำอย่างต่อเนื่อง และต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนที่บอกได้ว่าใครหรือกลุ่มใดเป็นคนทำค่ะ ซึ่งในกรณีที่ผู้ลงทุนต่างคนต่างเข้าไปซื้อหุ้นตามกลไกตลาด เช่น ซื้อหุ้นในราคาที่ตนเองคิดว่าถูกแล้วไปขายตอนที่ราคาสูงขึ้นเพื่อทำกำไร ก็จะถือเป็นการซื้อขายหุ้นเพื่อการลงทุนตามปกติที่ต้องมีการเก็งว่าจะได้ กำไร

แต่หากเป็นการปั่นหุ้น กลุ่มหรือพวกพ้องที่ต้องการปั่นหุ้นจะมีเจตนา ปั่น หุ้น เพื่อทำให้ตนเองได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นนั้น โดยมักจะมีพฤติกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น ส่งคำสั่งซื้อขายภายในกลุ่มเดียวกันเอง แต่ไม่มีการซื้อขายจริงเป็นแค่การโยนคำสั่งซื้อขายหุ้นระหว่างกันไปมา หรือจับคู่ซื้อขายกัน (เพื่อ ลดต้นทุนเพราะมีเม็ดเงินน้อย) ในราคาที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นการอำพราง โดยบางครั้งอาจแพร่ข่าวหนุนไปด้วยว่าหุ้นดังกล่าวกำลังจะมีข่าวดี เมื่อผู้ลงทุนทั่วไปเห็นว่าหุ้นตัวนี้มีคนซื้อมาก และคาดหวังว่าราคาจะสูงขึ้นต่อไปอีก ก็มักจะแห่ตามกันไปซื้อ จนเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปถึงจุดหนึ่ง พวกที่ต้องการปั่นหุ้นก็จะขายทำกำไรออกมา ในที่สุดแล้ว ราคาหุ้นก็จะร่วงลงมา เนื่องจากราคาหุ้นที่ขึ้นไปนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ซึ่งจะส่งผลให้ ผู้ลงทุนที่รู้ไม่เท่าทันหรือตามเกมไม่ทัน อยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ติดยอดดอย” (ติดหุ้นในราคาสูงเพราะขายออกไปไม่ทัน)

จะป้องกันตัวเองอย่างไร? ไม่ให้เป็นเหยื่อ

ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อน หากเมื่อใดก็ตามเห็นราคา หุ้นเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยไม่มีปัจจัยใดๆ มารองรับ เช่น ราคาหุ้นปรับตัวสูง ทั้งๆ ที่บริษัทยังไม่ได้มีแผนงานมารองรับที่ชัดเจน หรือไม่มีปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ สนับสนุนเลย ก็ให้จับตาดูและพึงระวังไว้เพราะอาจจะเกิดการปั่นหุ้นได้ค่ะ หรือหากมีคนมาชวนซื้อหุ้นแล้วบอกว่ามีขาใหญ่กำลังเล่นอยู่ ราคาจะขึ้นไปเท่านั้นเท่านี้ โดยสภาพก็จะเป็นการปล่อยข่าวเพื่อจะปั่นหุ้นอยู่แล้ว ก็ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจจะมีความผิดปกติแล้วนะคะ (สำหรับ ผู้ลงทุนที่รู้ว่าเป็นหุ้นปั่น แต่ก็ยังอยากซื้อตาม โดยหวังว่าจะซื้อได้ก่อนออกได้ทัน ก็อย่าลืมว่าโอกาสเจ็บตัวก็มีสูงนะคะ ฉะนั้นอย่าเสี่ยงดีกว่าค่ะ)

ระมัดระวังข่าวลือที่ยังไม่มีความชัดเจน เนื่อง จากในการปั่นหุ้น คนปั่นมัก จะปล่อยข่าวลือต่างๆ ออกมาด้วย เช่น ข่าวลือเรื่องราคาเป้าหมายว่าราคาหุ้นจะ ขึ้นไปเท่านั้นเท่านี้ หรือข่าววงในว่ามีบริษัทต่างชาติมาสนใจควบรวมกิจการเพื่อทำให้ราคาหุ้นขึ้น ฯลฯ เพื่อให้ผู้ลงทุนทั่วไป หลงเชื่อรีบกระโจนเข้ามาซื้อตาม ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรตรวจสอบข้อมูลก่อน อย่าเพิ่งผลีผลามเข้าไปซื้อขาย โดยหากเป็นข่าวลือเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียนก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะเร่งให้บริษัทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องรีบออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงโดยทันที ผู้ลงทุนก็สามารถเช็กข่าวในเบื้องต้น ได้เองจากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ (www.set.or.th) ซึ่งจะมีระบบ SET Portal ที่จะให้บริษัทจดทะเบียนใช้เป็นช่องทางในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทให้แก่ ผู้ลงทุนอยู่แล้วค่ะ

การปั่นหุ้นถือเป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุนและเป็นความผิดตามกฎหมายหลักทรัพย์ ด้วยนะคะ คราวหน้าจะมาเล่าว่าหน่วยงานกำกับดูแลนั้นมีแนวทางในการดำเนินการกับการ ปั่นหุ้นอย่างไรกันบ้างค่ะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

แนวทางการบริหาร เงินลงทุนในปี 2553

ธันวาคม 15, 2009

เหลืออีกเพียง 2 สัปดาห์ก็จะหมดปี 2552 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกแย่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้

นอกจากนี้โดยธรรมเนียมปฏิบัติแล้วในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธ.ค. นักลงทุนสถาบันต่างประเทศก็มักจะหยุดพักในช่วงเทศกาลคริสต์มาสต่อเนื่องถึง ปีใหม่ไปเลย ในเรื่องทิศทางของตลาดหุ้นในช่วงนี้ก็คงจะเริ่มชะลอตัวเช่นกัน ประกอบกับช่วงนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐไร้ทิศทาง

ดังนั้นในสัปดาห์นี้ผมจึงเตรียมเรื่องที่ผมคิดว่ามีความสำคัญมาก คือ แนวทางในการบริหารเงินลงทุนในปี 2553 ซึ่งเป็นปีที่ผมคาดว่าปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมี นัยสำคัญ ซึ่งจะมีผลต่ออัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่เปลี่ยนไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตร หุ้นสามัญ และราคาทองคำ

ผมขอสรุปสั้นๆ เพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ ว่า ในปี 2553 นั้น ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงของไทยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงจากปี 2552 ได้แก่ 1) การปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ รวมถึงของไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้น 0.50% ส่วนอัตราเงินเฟ้อของไทยคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 3% 2) ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ตั้งแต่ไตรมาส 2/2553

โดยคาดว่าสิ้นปี 2553 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐต่อยูโรจะอยู่ที่ระดับ 1.47 ดอลลาร์สหรัฐต่อยูโร 3) การเติบโตของเศรษฐกิจ ทั่วโลก ยกเว้น จีน อินเดีย มีโอกาสกลับมาชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังปี 2553 แต่คาดว่าจะไม่รุนแรงเท่ากับที่เกิดขึ้นในไตรมาส 4/2551

การเปลี่ยนแปลงสำคัญของปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปี 2553 ที่ผมสรุปไปแล้วข้างต้นนั้น ส่งผลให้ทุกท่านจำเป็นต้องปรับแนวทางในการบริหารเงินใหม่เพื่อให้สอดคล้อง กับปัจจัยแวดล้อมดังกล่าว แต่ก่อนที่จะพูดถึงแนวทางการบริหารเงินที่ต้องปรับปรุง ผมอยากเสนอความเห็นเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของสินทรัพย์ประเภท ต่างๆ ก่อน

ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยแล้วในวัฏจักรเศรษฐกิจที่อัตราการเติบโตหรือถดถอยลดลงผ่านจุดต่ำ สุดแล้ว (ปี 2552) ในวัฏจักรต่อมา (ปี 2553) จะเป็นวัฏจักรของการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย โดยในวัฏจักรนี้สินทรัพย์ประเภท ตราสารหนี้ระยะยาวจะมีความน่าสนใจน้อยที่สุด เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน

สำหรับสินทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญในวัฏจักรนี้ อัตราผลตอบแทนจะต่ำกว่าในวัฏจักรก่อนหน้า เนื่องจากเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมี ผลกระทบต่อทั้งความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าหุ้นให้ลดลง สำหรับสินทรัพย์ที่โดยเฉลี่ยให้อัตราผลตอบแทนสูงสุดในวัฏจักรเศรษฐกิจแบบนี้ คือ ทองคำ หรือสินค้าโภคภัณฑ์

ผมเชื่อว่าหลังจากที่ทุกท่านเห็นภาพของอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของสินทรัพย์ ประเภทต่างๆ แล้ว ก็น่าที่จะสามารถกำหนดแนวทางในการบริหารเงินทุนในปี 2553 ได้แล้ว โดยในความเห็นของผมนั้น ผมขอเสนอแนวทางดังนี้ครับ

1. การลงทุนในตราสารหนี้ควรลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุ 1-3 ปี) และเนื่องจากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวแล้ว ดังนั้นการลงทุนใน ตราสารหนี้ของภาคเอกชนจึงสามารถทำได้มากขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงของธุรกิจมีแนวโน้มลดลงตาม ทั้งนี้รวมถึงการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนที่มี Rating ต่ำกว่า A จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงขึ้น

2. ควรลดความคาดหวังในเรื่องอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้น โดยคาดว่าตลาดหุ้นในปี 2553 จะให้อัตราผลตอบแทนได้ ไม่สูงกว่า 15% ต่อปี ดังนั้นแนวทางการลงทุนในปี 2553 นั้น นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยจำเป็นต้องทำการบ้านมากขึ้น ทั้งในส่วนของการเลือกอุตสาหกรรมลงทุนที่ถูกต้อง และเลือกหุ้นลงทุนที่เหมาะสม

3. เตรียมกลยุทธ์ทางเลือก (Plan B Strategy) ในกรณีที่ตลาดหุ้น ไม่เป็นไปตามคาดการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงมากนัก ผมแนะนำให้ปรับพอร์ตมาลงทุนในหุ้น Defensive และ Dividend เพิ่มขึ้น รวมทั้งควรศึกษานำ TFEX มาใช้ป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ตลาดฯ ปรับตัวลดลงด้วย ที่ผมแนะนำเช่นนี้เพราะผมประเมินว่า ตลาดหุ้นในปี 2553 มีความเป็นไปได้มากๆ ที่จะผันผวนสูง จากทั้งปัจจัยด้านอิทธิพลของเงินทุนต่างประเทศที่มีโอกาสไหลเข้า-ออก อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และด้านพื้นฐานเศรษฐกิจที่เศรษฐกิจโลกอาจเกิดภาวะถดถอยรอบ 2 (Double-Dip Recession)

4. เพิ่มการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ โดยผมเน้นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ผมยอมรับครับว่าในทางทฤษฎีในปี 2553 สินทรัพย์ประเภทโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่น่าลงทุนมากที่สุด แต่เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวขึ้นมากว่า 20% จากปี 2551 ซึ่งถือได้ว่าสะท้อนการคาดการณ์ทั้งในเรื่องเงินเฟ้อ และการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐไปพอสมควรแล้ว

ดังนั้นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในทองคำสำหรับปี 2553 ก็มีโอกาสที่จะลดลงเช่นเดียวกันกับตลาดหุ้น ทั้งนี้รวมถึงในบางเวลาราคาทองคำมีโอกาสที่จะผันผวนสูงด้วย โดยเฉพาะช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเปลี่ยนแนวโน้มกลับไปแข็งค่า ดังนั้นผมจึงแนะนำให้ลงทุนในโภคภัณฑ์ที่ราคายังคงปรับตัวขึ้นไม่มาก และเป็นสินค้าที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ซึ่งได้แก่อุปสงค์จากภาคธุรกิจ ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และเหล็ก ซึ่งนักลงทุนสามารถลงทุนผ่านหุ้นในกลุ่มดังกล่าวได้ หากไม่สามารถลงทุนโดยตรงได้

5. พักเงินไว้ที่ Money market fund ในเวลาที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง หรือกำลังปรับตัวลดลง คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนก.พ.- มี.ค. 2553 ซึ่งคาดว่าอัตราผลตอบแทนจะสูงขึ้นกว่าปัจจุบันตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่หากเกิดกรณีที่เศรษฐกิจโลกกลับไปถดถอยรอบ 2 ผมประเมินว่า การพักเงินใน Money market fund อาจไม่เพียงพอ แต่อาจจำเป็นต้องย้ายเงินกลับไปลงทุนในตราสารหนี้ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

สปาไทยอะเมซิง ติด7ใน10แห่ง เจ๋งสุดในเอเชีย

ธันวาคม 14, 2009

ธุรกิจสปาของไทยจำนวน 7 แห่ง ได้รับรางวัล “สุดยอดสปาของเอเชีย ประจำปี 2009”

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงานผลการจัดอันดับสุดยอดสปาโลกประจำปี 2009 (World’s Best Spas 2009) ว่า ธุรกิจสปาของไทยจำนวน 7 แห่ง ได้รับรางวัล “สุดยอดสปาของเอเชีย ประจำปี 2009” โดยนิตยสาร Travel+Leisure ซึ่งเป็นนิตยสารด้านท่องเที่ยวชั้นนำ ได้จัดทำแบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นผู้อ่านนิตยสารดังกล่าว เกี่ยวกับธุรกิจสปาที่น่าประทับใจจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกประจำปี 2552 ผลปรากฏว่าในส่วนของสุดยอดสปา 10 อันดับแรกจากภูมิภาคเอเชีย สปาจากประเทศไทยติดอันดับมากถึง 7 แห่ง ได้แก่อันดับที่ 1 อมันตรา เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา ได้รับ 95.07 คะแนน

อันดับที่ 2 โฟร์ซีซั่นส์ รีสอร์ท เชียงใหม่ ได้รับ 94.96 คะแนน

อันดับที่ 4 แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ ได้รับ 94.61 คะแนน

อันดับที่ 5 อนันตรา หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา ได้รับ 94.21 คะแนน

อันดับที่ 6 แมนดาริน โอเรียนเต็ล ดาราเทวี เชียงใหม่ ได้รับ 92.19 คะแนน

อันดับที่ 7 โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพ ได้รับ 91.80 คะแนน

อันดับที่ 10 เดอะ เพนนิลซูล่า กรุงเทพ ได้รับ 90.63 คะแนน

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจสปาของไทยติดอันดับสุดยอดสปาของเอเชีย ประจำปี 2009 ถึง 7 แห่ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการให้บริการแก่ผู้มาเยือนด้วยความใส่ใจ และความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ สปาไทย รวมทั้งปัจจัยด้านราคาที่ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพและบริการ ของคนไทย สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี และคาดว่ารางวัลที่ได้รับในครั้งนี้ จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาใช้บริการสปาไทยมากขึ้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

ทิศทางเฟอร์นิเจอร์เพื่อส่งออก OEM ยังครองแชมป์ในเอเชีย

ธันวาคม 13, 2009

เฟอร์นิเจอร์ไทยเคยเป็นตลาดสำคัญที่บริษัทเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังๆ และเป็นตลาดใหญ่ ของผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์ (เทรดเดอร์)ทั่วโลก

เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากประเทศไทย ได้รับการยอมรับ และถือว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพเหมาะสมกับราคาจ้างผลิต ทำให้ผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์ในตลาดต่างประเทศ มีคำสั่งซื้อ (ออเดอร์)ผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามคำสั่งผลิต (OEM) จากเทรดเดอร์รายใหญ่และบริษัทเฟอร์แบรนด์ดังจำนวนมากหลังไหลเข้ามาจ้างผู้ ประกอบการไทยผลิตเฟอรืนิเจอร์ให้ จนส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็น1 ในผู้นำของตลาดเฟอร์นิเจอร์OEM ในภูมิภาคเอเชีย

อย่างไรก็ตาม ในช่วง5-10ปีที่ผ่านมาการปรับตัวของตลาดเฟอร์นิเจอร์โลกและผู้ผลิต เฟอร์นิเจอร์ในภูมิภาคเอเชีย ร่วมถึงการแข่งขันในตลาดที่มีการปรับตัวต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และต้นทุนการขนส่ง ทำให้กลุ่มเทรดเดอร์ และบริษัทเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ใหญ่ๆ มีการปรับตัวหาแหล่งผลิต หรือตั้งฐานการผลิตในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำทดแทน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออก และรับจ้างผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามคำสั่งซื้อ ในประเทศจีน เวียดนาม มาเลเวีย และอินโดนีเซีย มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ ทำให้กลุ่มประเทศดังกล่าวมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์อย่าง รวดเร็ว จนก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข็งสำคัญของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย ในช่วง3-5 ปีที่ผ่านมา

สำหรับประเทศถือว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมในทุกๆด้าน เนื่องจากได้รับการสนับสนุนเม็ดเงิน และการเปิดตลาดการค้าของรัฐบาลไปทั่วโลก ซึ่งในด้านอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์นั้น จีนนับว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านการผลิตและการแข่งขันอย่างก้าวกระโดด โดยการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกเฟอร์นิเจอร์เบอร์ 1ของภูมิภาคเอเชีย และเบอร์1ของโลก ขณะเดียวกันประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่น่าจับ ตาอีกรายในภูมิภาคเอเชียคือ ประเทศเวียดนาม และมาเลเซีย

โดยปัจจุบันทั้ง2ประเทศก้าวเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์OEM จากประเทศไทยไปจำนวนมาก ทำให้ในปีที่ผ่านมา เวียดนาม และมาเลเซีย มียอดการส่งออกเฟอร์นิเจอร์สูงกว่าประเทศไทย หรือกล่าวได้ว่าก้าวขึ้นมาเป็นผู้ในตลาดเฟอร์นิเจอร์ MEO ในอันดับต้นๆ ของภูมิภาคแซงหน้าประเทศไทย แม้ทั้ง2ประเทศจะเป็นประเทศผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ช้ากว่าประเทศไทย

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ OEM ที่ได้รับการยอมรับจากเทรดเดอร์และบริษัทเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ใหญ่ๆ ทั่วโลกจนสามารถแชร์ส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์ส่งออกจากประเทศไทยไปจำนวนมาก คือการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เช่น ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนการขนส่งที่ต่ำกว่า และมีการนำระบบเทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์เข้ามาใช้อย่าง ต่อเนื่อง ทำให้สามารถใช้กลยุทธ์ด้านราคาในการแข่งขันชิงส่วนแบ่งในตลาดส่งออกได้

ในขณะที่ประเทศไทยผู้ประกอบการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐบาล ทั้งในด้านการส่งเสริมการแสดงสินค้า เทคโนโลยีการผลิต เชื่อนเครื่องจักรอุตสาหกรรม การเปิดตลาดหรือหาตลาดรองรับสินค้าของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และขาดการส่งเสริมด้านบุคลากรนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ แม้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ต่างเห็นตรงกันว่าแนวทางการเอาตัวรอดจากการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการ ไทยในตลาดส่งออก คือ การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการพัฒนาด้านดีไซน์ การสร้างแบรนด์สินเค้า และการเปิดตลาดใหม่ๆ

“ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกของไทย เน้นเจาะตลาด OEM เป็นหลัก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ราย เล็ก รายย่อย และผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการ SME แต่ที่ผ่านมาการปรับตัว และการส่งเสริมจากภาครัฐที่ไม่ได้ให้ความสำคัญมากเท่าที่ควร ส่งผลให้ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์มีศักยภาพในการแข่งขันด้อยกว่าคู่แข่งจากประเทศ ในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและเทคโนโลยีใน การผลิตที่ทันสมัยที่ดีกว่า” นายวงกต ตั้งสืบกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าว

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาด้วยข้อด้อยด้านต้นทุน ค่าแรง และเทคโนโลยี ส่งผลให้ตลาดเฟอร์นิเจอร์ส่งออกของไทยถูกแชร์ตลาดไปจำนวนมาก โดยตลาดรวมเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออกของไทยในปี52 นี้ มีอัตราการหดตัวลดลงจากปี51ประมาณ 20% โดยในปีที่ผ่านมาตลาดรวมมีมูลค่า 1,244.3ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเปรียบเทียบตัวเลข ณ เดือน ม.ค.- ต.ค.51มีมูลค่าการขายรวม 1,067ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ เดือนม.ค.-ต.ค.25 มียอดขายรวม 813.2ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับสาเหตุที่ตัวเลขการส่งออกของเฟอร์นิเจอร์ดลงเนื่องจากถูกคู่แข่งจาก ประเทศจีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียแชร์ตลาดเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ แม้ว่าผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไทยในตลาดต่างประเทศจะเป็นสินค้าที่ได้รับการ ยอมรับด้านคุณภาพและมีข้อไดเปรียบด้านวัตถุดิบในประเทศจำนวนมากซึ่งเป็นที่ ต้องการของตลาด เช่นไม่ยางพารา ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และได้เปรียบด้านแรงงนฝีมือประณีต ซึ่งช่วยให้สามารถเพิ่มมูลค่าเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างดี แต่เนื่องเฟอร์นิเจอร์ OEM เป็นตลาดที่ต้องแข่งขันด้านจำนวนการผลิต และราคาทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบคู่แข่งสำคัญอย่างเช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเชีย ค่าแรงงาน เทคโนโลยีในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเฟอร์นิเจอร์ไทย

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย และ SME สามารถพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ให้แข่งขันในตลาดโลกได้ จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ต้องมีการรวม ศึกษาพัฒนา และแชร์แนวคิดรวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าการบริหารจัดการ และตลาดร่วมกัน

โดยล่าสุด สภาอุตสาหกรรมไทยได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยมีสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้การสนับสนุนจัดตั้งโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มเชื่อมโยเครือข่ายวิสาหกิจ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอรืไม้และเครื่องเรือนในเขต กทม.และปริมณฑล เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มอุตสาหรรมสามารถแข่งขันในตลาด โลกได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน”

ทั้งนี้ การรวมกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตฯเฟอรืนิเจอร์นั้นจะช่วยให้เกิด การนำไปสู่การช่วยลดต้นทุนการผลิต การแบ่งออเดอณ์ คำสั่งซื้อตามความต้องความถนัด ชำนาญ และร่วมกับเข้าถึงแหล่งการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ ที่มีราคาถูกและได้คุณภาพ นอกจากนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และวิธีการนำไปสู่มาตรฐานการผลิตที่ดีขึ้น และการสร้างนวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ ยกระดับผู้ผลิตไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้

สำหรับโครงการ “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน” จะจัดงานเปิดตัวในวันที่ 21 ธ.ค. โดยงานดังกล่าวจะมีการจัดสัมมนา และเสวนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งงานนี้ถือว่าเป็นการประเมินจำนวนผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ดังกล่าวให้มากที่สุดทั้งผู้ประกอบการเฟอน์นิเจอร์รายเล็ก-ใหญ่ และ SME

“งานนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่ การร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายของผู้ประกอบการในอนาคต เพื่อจะสามารถดำเนนิกรได้ตามแผนงานและยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยในการพัฒนาด้านต่างๆ นั้น สศอ.ได้ให้งบประมาณการการพัฒนาและดำเนินโครงการปีละ 4.5ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่า รัฐบาลจะอุดหนุนงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ แต่สิ่งจำเป็นของการพัฒนาศักยภาพและตลาด ครั้งนี้คือจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการในประเทศเพื่อเป็น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาศักยภาพร่วมกันของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ”

สำหรับแนวทางที่จะจะสามารถยกระดับผู้ประกอบการ และสร้างความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศนั้น จำเป็นที่ผู้ประกอบการทุกระดับต้องร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นการผลิตชิ้นส่วน และอะไหร่เฟอร์นิเจอร์ สร้างให้ประเทศไทยเป็นตลาดและศูนย์รวมการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ รองรับการเติบโตของตลาด OEM

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com

เปิด 6 ทำเลมั่งคั่ง ขุมทรัพย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ธันวาคม 12, 2009

ทองหล่อ จตุจักร สยาม อาร์ซีเอ ทาวน์ อิน ทาวน์ สุขุมวิท พื้นที่เล็กๆ เหล่านี้ ล้วนมีศักยภาพมหาศาล สร้างเม็ดเงินสะพัดหลายพันล้าน

ทำเล

จากการเป็น “แหล่งธุรกิจสร้างสรรค์” ด้วยมีสภาพแวดล้อมเฉพาะตัวที่เอื้อต่อกิจกรรมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 6 ทำเลข้างต้น คือ หัวแถวนำกรุงเทพฯ สู่ Creative City แนวคิดแห่งการสร้างเมืองให้มั่งคั่งด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์

การพัฒนาเศรษฐกิจตามโมเดล “สร้างโรงงาน ปล่อยปล่องไฟ” เริ่มถูกวิพากษ์ว่า “หลงทิศ” เพราะโมเดลเศรษฐกิจใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 จะต้องมีความยั่งยืน เน้นยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าจากทุนความรู้ โดยสร้างแหล่งรวมนักคิดและผู้ประกอบการสร้างสรรค์

หลอมรวมกันจนเกิดเป็นการจ้างงาน สร้างรายได้ เป็นพลังสู่การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของเมืองและประเทศได้อย่างแข็งแกร่ง

ดังที่เคยเกิดขึ้นในยุโรป สหรัฐ หรือเกาหลีซึ่งล้วนใช้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น เบอร์ลิน ต้นแบบของเมืองสร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่ก้องโลกกับการเป็นเมืองแห่งศิลปะและ งานออกแบบ ที่ดึงคนให้มาเยือนจนเป็นพลังเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ

เบอร์ลินวันนี้จึงเป็นศูนย์กลางแห่งงานศิลปะอันดับสองของโลกรองจากนิวยอร์ก มีประชากรเกือบ 8 หมื่นคน ในสายงานออกแบบ สื่อสาร บันเทิง ดนตรี วรรณกรรม การแสดง และศิลปะ สร้างมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่า 8 พันล้านยูโร หรือกว่า 360,000  ล้านบาท

หรือโซลจากเกาหลี จากเมืองที่เคยก็อปปี้ญี่ปุ่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมภายในเกาหลีทำให้เกาหลียกระดับกรุงโซล ขึ้นมาเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นผู้นำในด้าน Digital Media City จากการบ่มเพาะธุรกิจไอทีและสื่ออย่างครบวงจร และยังขึ้นแท่นเป็นเมืองหลวงแห่งการออกแบบในปี 2010

“ทฤษฎีใหม่ที่จะสร้างเศรษฐกิจโลกให้มั่งคั่งได้ คือ องค์ความรู้จากแนวคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งเป็นเสมือน “ทุน” และ “วัตถุดิบ” สิ่งเหล่านี้จะเข้ามาแทนที่แรงงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เพราะการผลิตและอุตสาหกรรมปล่องควันไฟที่เป็นทฤษฎีเก่าในศตวรรษที่ 20 ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ทำให้สินค้าไม่มีความแตกต่างกัน” ปรมาจารย์นักวางผังเมืองระดับโลก ไมเคิล ฟรีดแมน ผู้มีประสบการณ์พัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์และวางผังเมืองในเขต Silicon Valley กล่าวถึงการสร้างเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องมุ่งสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

แต่จะเกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ ต้องสร้างเมืองให้เป็น “เมืองสร้างสรรค์” หรือ Creative City ด้วย เพราะเมืองสร้างสรรค์จะดึงดูดคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เข้ามาในพื้นที่ เอื้อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่มาจากความคิดสร้างสรรค์

เมื่อเมืองเป็นแหล่งรวมนักคิด ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ก็ยิ่งเพิ่มศักยภาพให้กับเศรษฐกิจ

“เมือง” ถือเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันความคิดสร้างสรรค์ หากออกแบบเมืองให้เกิดสังคมแบบเปิด สร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม สร้างบรรยากาศที่ดึงดูดคนคิดสร้างสรรค์ให้มารวมกัน เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์คนคิดสร้างสรรค์ มีบริษัทที่ชำนาญด้านการผลิตธุรกิจสร้างสรรค์เข้ามาลงทุน ให้เกิดการจ้างงาน จะเกิดเมืองที่มีศูนย์รวมของคนที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ที่หลากหลายมาบรรจบกัน” ฟรีดแมนให้ภาพใหญ่

ส่วนประเทศไทย การมีวัตถุดิบด้านวัฒนธรรม ธรรมชาติ สังคม และบริการชั้นยอด ที่รวมกลุ่มกันเหนียวแน่น ทำให้หลายฝ่ายเล็งว่า เหมาะที่จะดึงมาต่อยอดให้กลายเป็นชุมชนเมืองแห่งการสร้างมวลชนสร้างสรรค์

เริ่มนำร่องจากกรุงเทพ เมืองสร้างสรรค์ ต้นแบบในไทย แล้วแพร่ขยายไปยังชุมชนเมืองในภูมิภาคเหนือ ใต้ อีสาน

ครีเอทีฟ ซิตี้ เวอร์ชั่น กรุงเทพ ควรจะเดินไปแบบไหน นักวิชาการและผู้วิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นำทีมโดย พีรดร แก้วลาย ได้ร่วมกันศึกษา พิจารณาถึงพื้นที่ที่ขับเคลื่อนและส่งเสริมความเป็นเมืองสร้างสรรค์ โดยค้นหาศักยภาพของพื้นที่เหล่านั้น ทั้งในด้านบุคลากร การใช้พื้นที่เพื่อธุรกิจสร้างสรรค์ ระบบเครือข่ายที่ทำให้การทำงานสร้างสรรค์มีประสิทธิภาพ และหน้าที่หลักของแต่ละพื้นที่ในการเป็นกลไกขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร สู่เมืองสร้างสรรค์ในอนาคต

“จากการสำรวจ เราได้พื้นที่มา 6 พื้นที่ คือ ทองหล่อ จตุจักร สยาม อาร์ซีเอ ทาวน์อินทาวน์ และสุขุมวิท โดยสยามถือเป็นแหล่งเทรนด์แฟชั่น จตุจักรเป็นพื้นที่ห่วงโซ่ธุรกิจสร้างสรรค์ ทาวน์อินทาวน์ เป็นเมืองโฆษณา ธุรกิจโปรดัคชั่น อาร์ซีเอเป็นพื้นที่ธุรกิจดนตรี ทองหล่อ ธุรกิจออกแบบ และสุขุมวิทเป็นกระดูกสันหลังของคนต่างชาติ” พีรดร ให้ข้อมูล

ขณะที่ สุพิชฌาย์ ศิลัยรัตน์ ตัวแทนกลุ่มวิจัยเมืองสร้างสรรค์ ให้รายละเอียดของแต่ละทำเลว่า ทองหล่อ ถือเป็นพื้นที่ที่รวมทุกปัจจัยของเมืองสร้างสรรค์ เพราะมีตั้งแต่ธุรกิจสร้างสรรค์อย่างสตูดิโอแต่งงาน อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ไปจนถึง ศูนย์การค้าชุมชน ย่านทองหล่อจึงมีคนทำงานในกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ธุรกิจสร้างสรรค์ยังส่งผลให้เกิดธุรกิจอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร คอนโด เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ และธุรกิจสถานบันเทิง

“คนทำงานในแวดวงธุรกิจสร้างสรรค์ย่านทองหล่อ เป็นกลุ่มสถาปนิก นักออกแบบราว 400 คน ช่างภาพ ช่างแต่งหน้า ช่างทำผม ศิลปิน นักร้องกว่า 250 คน อาจารย์และนักศึกษาด้านการออกแบบในสถาบันการสอนออกแบบกว่า 900 คน รวมทั้งสิ้น 1,600 คน” สุพิชฌาย์ให้ข้อมูล

โดยกลุ่มธุรกิจแต่งงาน ถือเป็นธุรกิจหลักในย่านทองหล่อ มีทั้งหมด 20 แห่ง สร้างมูลค่าธุรกิจประมาณ 1 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 30% ของธุรกิจแต่งงานในกรุงเทพฯ ที่มีมูลค่ารวม 3 หมื่นล้านบาท

ส่วนธุรกิจสร้างสรรค์อื่นๆ ก็เช่น สตูดิโอออกแบบที่มีกระจายอยู่มากได้ก่อให้เกิดการเอื้อประโยชน์ระหว่าง ธุรกิจออกแบบ ธุรกิจอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน และเฟอร์นิเจอร์นำเข้า อย่างเช่น กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่มีถึง 40 ร้าน ถือว่ามีจำนวนมากเมื่อเทียบกับย่านอื่นๆ

นอกจากนี้ทองหล่อยังมีพื้นที่พบปะ เช่น ศูนย์การค้าชุมชน พื้นที่ที่คนทำงานสร้างสรรค์ใช้เป็นสถานที่พบปะ เช่น มีร้านกาแฟสตาร์บัคส์ถึง 3 ร้านคิดเป็น 16% ของร้านสตาร์บัคส์ในสุขุมวิท

องค์ประกอบอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้ทองหล่อเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ คือ การมีสถานที่และกิจกรรมที่สนับสนุนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น สถาบันปรีดี พนมยงค์ เวทีสำหรับศิลปวัฒนธรรม สถาบันการออกแบบ Accademic Italiana สถาบันดนตรี KPN Music Academy  และ Superstar Academy ซึ่งทั้งสองสถาบันมีจำนวนบุคลากรรวมกันกว่า 800 คน รวมถึงระบบขนส่งมวลชน

“ทองหล่อเป็นพื้นที่รวมปัจจัยที่เกี่ยวข้องและจำเป็นสำหรับกลุ่มคนทำงาน สร้างสรรค์ เมื่อผนวกกับพื้นที่เพื่อการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ ทำให้ทองหล่อมีปัจจัยที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ที่หาได้ยากใน พื้นที่อื่นๆ” สุพิชฌาย์ กล่าว

สำหรับพื้นที่ จตุจักร ถือเป็นจุดเชื่อมต่อของธุรกิจสร้างสรรค์ ด้วยความหลากหลายของสินค้า ความแปลกใหม่ และเป็นพื้นที่ซึ่งเอื้อต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่ใช้ความคิดสร้าง สรรค์

มีทั้งการออกแบบ การผลิต เพื่อจำหน่ายในร้าน เป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับผู้ผลิตงานสร้างสรรค์จากทั่วประเทศ และเป็นโอกาสทางการค้าของผู้ผลิตสินค้าสร้างสรรค์สำหรับกลุ่มลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศ

ปัจจุบันตลาดนัดอย่างจตุจักรมีแผงร้านค้าถาวรมากกว่า 1 หมื่นร้าน และแผงลอยอีกกว่า 300 ร้าน มีคนมาจับจ่ายในวันเสาร์อาทิตย์กว่า 2 แสนคน มีเงินหมุนเวียนต่อสัปดาห์ประมาณ 100-120 ล้านบาท

“รูปแบบร้านค้าในจตุจักรมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A เป็นสินค้าวัตถุดิบ เช่น ลูกปัด เม็ดหิน เส้นเชือก เน้นขายส่ง มีจำนวน 37% กลุ่ม B ร้านขายสินค้าที่ซื้อวัตถุดิบภายในจตุจักรแล้วนำมาออกแบบ ผลิตเป็นสินค้าขายในร้าน มีจำนวน 33.71% และกลุ่ม C ร้านที่ออกแบบและผลิตชิ้นงานเอง แต่ซื้อหาวัตถุมาจากภายนอก มีจำนวน 29.21%” ทีมวิจัยให้ข้อมูลถึงห่วงโซ่การค้าในจตุจักร

ในส่วนของ สยามสแควร์ ถือเป็นทำเลโดดเด่นในฐานะเป็นแหล่งแฟชั่น แหล่งรวมความทันสมัย ทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นย่านเกาะติดกระแสแฟชั่นโลก และเป็นที่แจ้งเกิดแบรนด์แฟชั่นไทย

การแวดล้อมด้วยสถาบันการศึกษา สถาบันกวดวิชา ยังทำให้สยามสแควร์เป็นแหล่งรวมกลุ่มวัยรุ่น คนหนุ่มสาว พื้นที่โล่งยังเอื้อต่อกิจกรรมต่างๆ เช่น เปิดตัวสินค้า คอนเสิร์ต ถ่ายภาพยนตร์ ฯลฯ บรรยากาศที่สยามสแควร์จึงคึกคักทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด

วันธรรมดาจะมีผู้คนในพื้นที่ราว 2 หมื่นคน ส่วนวันหยุด ราว 5 หมื่นคน กำลังซื้ออยู่ที่ 1 พันบาทต่อคนต่อครั้ง สยามสแควร์จึงมีเงินหมุนเวียน 20-50 ล้านบาทต่อวัน

ธุรกิจเสื้อผ้าและแฟชั่น ถือเป็นธุรกิจใหญ่สุดในสยามสแควร์ พื้นที่จึงถูกใช้เป็นร้านเสื้อผ้ามากที่สุด 46.7% รองลงมาเป็นร้านอาหาร 18.2% นอกจากนี้ยังมีสถาบันกวดวิชา 7.32%

สยามสแควร์ยังถือเป็นแหล่งแจ้งเกิดแบรนด์ของนักออกแบบหน้าใหม่ จนก้าวสู่ตลาดแฟชั่นระดับนานาชาติ เช่น Tube gallery, ISSUE, It’shappened to e a closet

สำหรับผู้ประกอบการที่มาเปิดร้านในสยามสแควร์ ส่วนมากเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ ต้องการทดลองผลิตและจำหน่ายสินค้าที่แปลกใหม่ โดดเด่น แม้ว่าค่าเช่าจะสูงประมาณ 1-3 แสนบาทต่อเดือน แต่จะมีการร่วมกันแบ่งภาระค่าเช่า เพราะการใช้พื้นที่ร้านของนักออกแบบกลุ่มนี้มีไม่มากนัก เนื่องจากเน้นผลิตน้อยชิ้นและเน้นสินค้าที่มีความแตกต่าง ช่วยให้ค่าเช่าพื้นที่ลดลงเหลือประมาณเดือนละ 2 หมื่น-1.2 แสนบาท ขณะที่สามารถสร้างรายได้ เดือนละ 1-7 แสนบาท

“สยามสแควร์เป็นพื้นที่ซึ่งนักออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าใฝ่ฝันที่จะมีกิจการเป็น ของตนเอง เพราะไม่เพียงสร้างรายได้ แต่การมีร้านเสื้อผ้าแฟชั่นยังหมายถึงการได้สร้างสรรค์ชิ้นงาน ถือเป็นกำลังในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์”

ทาวน์อินทาวน์ ถือเป็นทำเลศูนย์กลางการออกแบบและสื่อมัลติมีเดียของกรุงเทพฯ ด้วยการปรับลุคของหมู่บ้านจัดสรรมาเป็นโฮม ออฟฟิศ เนื่องจากราคาค่าเช่าที่ไม่แพงและอยู่ใกล้แหล่งธุรกิจ จนปี 2547 พื้นที่ทาวน์อินทาวน์จึงเริ่มกลายเป็นย่านของครีเอทีฟ ออฟฟิศ

จากการศึกษาของทีมวิจัยกลุ่มผังเมือง พบว่า ขณะนี้เป็นพื้นที่พักอาศัยประมาณ 46.68% ขณะที่เป็นอาคารสำนักงานประมาณ 39.31% โดยมีบริษัทที่ทำธุรกิจสร้างสรรค์รวมตัวกันถึง 119 แห่ง ได้แก่ บริษัทสื่อและโฆษณา บริษัทถ่ายทำตัดต่อหนัง บริษัทสถาปนิก บริษัทออกแบบ มีคนทำงานในกลุ่มธุรกิจนี้ประมาณ 1,012 คน

บริษัทเหล่านี้จะทำงานในลักษณะให้บริการเชื่อมโยงกันตามกระบวนการผลิตสื่อ มัลติมีเดีย ตั้งแต่เป็นบริษัทพรีโพรดัคชั่น บริษัทโพรดัคชัน และบริษัทโพสต์ โพรดัคชั่น

“ทุกอย่างที่เกี่ยวกับมีเดียสามารถผลิตได้ในย่านนี้ รายได้ของธุรกิจสร้างสรรค์ในย่านนี้พบว่า ปี 2549  สร้างรายได้ 2,640  ล้านบาท เมื่อเทียบกับรายได้สื่อสร้างสรรค์ของประเทศ 4.9 แสนล้านบาท เท่ากับทาวน์อินทาวน์สร้างรายได้ 0.5%  ของด้านนี้” สุพิฌาย์ กล่าว

อาร์ซีเอ เป็นอีกทำเลธุรกิจสร้างสรรค์ในฐานะศูนย์กลางธุรกิจดนตรี สื่อ และสถานบันเทิง ด้วยภาพลักษณ์สถานบันเทิงของอาร์ซีเอ ทำให้กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ มองเห็นศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ ซึ่งมีข้อได้เปรียบเรื่องค่าเช่าราคาถูกเมื่อเทียบกับย่านสุขุมวิท ที่ห่างกันไม่ถึง 3 ก.ม.

อาร์ซีเอในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจึงเกิดปรากฏการณ์กระจุกตัวของคนทำงานสร้างสรรค์หลากหลายประเภท ตั้งแต่สื่อสิ่งพิมพ์ สถานีวิทยุ บริษัทโฆษณา และบริษัทสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ประเภทต่างๆ ธุรกิจภาพยนตร์ กลุ่มอุตสาหกรรมดนตรี ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์

“จากยูนิตทั้งหมดที่มีการใช้งาน 342 ยูนิต การใช้พื้นที่ของกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์มีมากถึง 124 ยูนิต คิดเป็น 36.25% เนื่องจากพื้นที่ที่เอื้อ โดยเป็นทั้งพื้นที่พบปะของคนทำงานสร้างสรรค์ในพื้นที่  การใช้พื้นที่ของอุตสาหกรรมดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวนักร้องคนใหม่ พื้นที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ดนตรีอื่นๆ”

ชาวต่างชาติ ถือเป็นอีกองค์ประกอบของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพราะความหลากหลายทางเชื้อชาติ หมายถึงโอกาสในการเปิดพื้นที่ของความคิดที่หลากหลาย สุขุมวิท ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยรองรับคนต่างชาติจึงเป็นอีกพื้นที่สร้างสรรค์ ของกรุงเทพฯ

“เหตุผลที่ย่านสุขุมวิทเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ เพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุด ทั้งแหล่งชอปปิง โรงแรมห้าดาว อาคารสำนักงาน คอนโดมีเนียม โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ระบบขนส่งมวลชน” สุพิฌาย์ กล่าว

ทั้งนี้ชาวต่างชาติที่พักอยู่ในไทยสูงสุด คือ ชาวญี่ปุ่นซึ่งนิยมพักอาศัยในย่านสุขุมวิทจนได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่น

ข้อมูลของปี 2548 ระบุว่า ไทยมีชาวญี่ปุ่นอยู่มากเป็นอันดับ 7 ของโลก และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงาน ใช้ชีวิตในไทยเพิ่ม 10% ทุกๆ ปี ปัจจุบันจึงมีชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงานประมาณ 4.5 หมื่นคน ถือเป็นกลุ่มคนที่ใช้ฐานความรู้ในการทำงาน และยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาธุรกิจมากมาย เพื่อรองรับการใช้ชีวิตของครอบครัวญี่ปุ่น

สาเหตุที่คนญี่ปุ่นเลือกพักย่านสุขุมวิท เพราะต้องการใช้เวลาเดินทางไปยังที่ต่างๆ เช่นที่ทำงาน โรงเรียน แหล่งชอปปิงไม่เกิน 15 นาที นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลคุณภาพสูง ร้านอาหาร  ร้านขนมปังของคนญี่ปุ่น ร้านหนังสือ คอนโดที่อยู่ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมดี

“พื้นที่สุขุมวิทเป็นพื้นที่ส่งเสริมความเป็นเมืองสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ เพราะมีศักยภาพตอบสนองความต้องการกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ต่างชาติ จากความสะดวกในการเดินทาง ที่อยู่ รองรับการใช้ชีวิตที่เป็นสากล และมีสิ่งอำนวยความสะดวกทัดเทียมเมืองใหญ่ของโลก

หากคนญี่ปุ่นเลือกสุขุมวิทเป็นบ้านหลังที่สองได้ ย่อมหมายความว่า สุขุมวิทย่อมมีความพร้อมสำหรับคนชาติอื่นๆ ด้วย” สุพิฌาย์กล่าว

จากสภาพแวดล้อมของเมืองที่ไม่หยุดนิ่งตลอด 24 ชั่วโมง มีผู้ประกอบการสร้างสรรค์ในหลายสาขา เป็นที่รวมของกลุ่มคนหลายเชื้อชาติ เป็นพื้นที่ที่ผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากหลาย กรุงเทพฯ จึงถือว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่เมืองสร้างสรรค์ได้ เห็นได้จากทำเลสร้างสรรค์ข้างต้นที่มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไป ระดับหนึ่งแล้ว

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksmecare.com